Day ก.ค. ศุกร์ที่ผ่านมา ราคาทองคำปิดบวกเหนือ ระดับ $3345 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงสร้างขาลงของ H4 ได้สำเร็จ ทองคำทำหน้าที่ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ตลาดดัชนีสหรัฐ ปิด ลบ ทั้ง 3 กระดาน ทั้งนี้มาจากความกังวลในสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่าง สหรํฐกับ นานาประเทศ หลังจากทรัมป์ประกาศขึ้นภาษี นำเข้าทองแดง และสินค้าจาก บราซิล 50% และแคนนาดา อีก 35% พร้อมขู่ไม่ให้ทั้ง 2 ประเทศมีมาตราการตอบโต้ นอกจากนี้ยังมีแรงซื้อจากการที่ POBC ประกาศซื้อทองคำเพื่อซื้อทองคำ เป็นสินทรัพย์สำรองติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 เปิดตลาดเช้านี้ราคาทองคำดีดขึ้นไปที่ $ 3373 เนื่องจากเสาร์ที่ 12 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศ นำเข้า 30% จากสินค้าในกลุ่มประเทศ EU และ แม็กซิโก โดยอ้างเรื่องความไม่สำเร็จในการเจรจา และ การที่แม็กซิโกไม่ยอมแก้ปัญหา เฟนทานิล และผู้อพยพ
ทางเทคนิค เช้าวันนี้ทันที่ที่เปิดตลาด ราคาดีดขึ้นบริเวณ $3373 ซึ่งเข้าใกล้โซน QM Timeframe Day ในหรกรอบ $3374- $3409 ปรากฎสัญญาณกลับตัว Bearish Divergence ในโซน Overbought แต่ใน Timeframe H1 เท่านั้น ราคาปรับตัวร่วงลงแตะ $3354 ซึ่งเป็นกรอบ OB ของ TF H1 หากวันนี้ราคาทองคำไม่สามารถเบรคากลับทะลุ High เดิมที่ $3373 ได้ คาดราคาจะย่อตัวออกข้างเพื่อรอปัจจัยข่าวประกาศ CPI ในวันพรุงนี้
จึงควรเน้น ย่อซื้อ ทำกำไรในระยะสั้นในวันนี้ แต่หากราคากลับขึ้นเหนือ $3373 ได้ ให้สังเกตสัญญาณ Bearish Divergence ก่อนทำกำไรระยะสั้นลงมา
ทรัมป์เดินหน้าประกาศภาษีนำเข้า ….ปัจจัยบวกต่อ USD และทองคำ(Save Haven)
- 12 ก.ค. ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจาก EU และ เม็กซิโก 30% โดยเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค. โดยอ้างว่าการเจรจาการค้าระหว่าง สหรัฐ กับ EU ไม่สำเร็จ และอ้างเรื่อง ผู้อพยพแม็กซิโกและการไหลเข้าขอ เฟนทานิล ที่ยังควบคุมไม่ได้
- EU เตรียมยกระดับความร่วมมือกับประเทศอื่น จากผลกระทบมาตรภาษีของสหัฐ คำขู่เรียกเก็บภาษี 30% ของทรัมป์ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรปอย่างรุนแรง
- ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ในวันนี้ (14 ก.ค.) ขณะที่ค่าเงินเปโซเม็กซิโกก็เผชิญแรงกดดันเช่นกัน หลังทรัมป์ แถลงเก็บภาษียุโรป
- สหรัฐเก็บภาษีศุลกากรพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิ.ย. ทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรอบปีงบประมาณ และช่วยให้เกิดงบประมาณเกินดุลเกินคาด 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเดือนดังกล่าว โดยข้อมูลงบประมาณแสดงให้เห็นว่า ภาษีศุลกากรกำลังกลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับรัฐบาลกลาง โดยภาษีศุลกากรในเดือนมิ.ย.ทำสถิติใหม่ เพิ่มขึ้น 4 เท่าเป็น 27,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปยอดรวม และ 26,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปยอดสุทธิหลังการคืนเงิน
- 11 ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมายเพิ่มเติมไปยัง ญีปุ่น และ เกาหลีใต้ เพื่อเตรียม ภาษี แบบ Reciprocal 15-20 % หากปิดดิลไม่ได้ภายในกำหนด
- 11 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า แคนาดา 35% พร้อมขู่ อย่าคิดมีมาตรากรอบโต้ มิเช่นนั้น จะถูกบวกภาษีเพิ่ม ทั้งนี้ทรัมป์ยังอ้างสิทธิ ถึงคามล้มเหลวของแคนนาดาในการควบคุม เฟลทานิลเข้าสหรัฐ
- 10 ก.ค. ทรัมป์ ลงนามภาษีนำเข้าทองแดงทั้งหมด 50% ผลบังคับใช้ 1 ส.ค. โดยอ้างถึงความมั่นคงของชาติ ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และการป้องกันประเทศ เพือกระตุ้นการผลิตทองแดงในประเทศ
- 10 ก.ค. ทรัมป์ เตรียมเรียกเก็บภาษี “ยารักษาโรค” อีก 200% ภายใน 1-1.5 ปีข้างหน้า
- 10 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ จาก บราซิล 50%ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบโต้ ประธานาธิปดีบราซิล ทีกล่าวหาทรัมป์ ว่า “ไม่ต้องการเป็นจักรวรรดิ์ แบบทรัมป์” ในงานประชุม BRICS ต้นสัปดาห์ที่ผานมา
ทรัมป์อ้างความชอบธรรมในการขึ้นภาษี บราซิล จากการที่ประธานาธิปดีบราซิล สั่งลบโพสที่เป็นข่าวปลอมออกจากโซเชียลมีเดีย ในสมัยการเลือกตั้งปี 2023 โดยทรัมป์ระบุว่า “ละเมิดการแทรกแซงเสรีภาพในการพูด”
– บราซิล พิจารณามาตราการตอบโต้กลับ ภาษีนำเข้าสหรัฐ 50% และจะยืนเรื่องความไม่เป็นธรรมนี่ต่อ WTO - 10 ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมาย ภาษีแบบเจาะจง 7 ประเทศ (ไม่มีรายชื่อใน Reciprocal Tariffs มาก่อน แต่เดิมมีการเรียกเก็บเฉพาะภาษีพื้นฐาน 10%) ประกอบด้วย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 30% กับประเทศ อัลจีเรีย/อิรัก / ลิเบีย /ศรีลังกา
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 25% กับประเทศ บูรไน / บอลโดวา
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 20% กับประเทศ ฟิลิปปินส์ - 8 ก.ค. ทรัมป์ส่งจดหมาย ภาษีแบบเจาะจง 14 ประเทศ (มีรายชื่อ จาก 60 ประเทศทั้งหมดใน Reciprocal Tariffs)
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 25% กับประเทศ ญี่ปุ่น / เกาหลีใต้/ มาเลเซีย/ คาซักสถาน / ตูนิเซีย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 30% กับประเทศ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา/แอฟริกาใต้
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 32% กับประเทศ อินโดนิเซีย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 35% กับประเทศ บังคลาเทศ/เซอร์เบีย
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 36% กับประเทศ ไทย /กัมพูชา
– ภาษีนำเข้าสหรัฐ 40% กับประเทศ พม่า / ลาว - เวียดนามประกาศรู้สึกประหลาดใจกับข้อตกลง การค้ากับสหรัฐเรียกเก็บสินค้านำเข้าจากเวียดนาม 20% จากจดหมายที่ได้รับทรัมป์ เพราะข้อตกลงกันคือ เวียดนามยอมส่งสินค้าเข้าสหรัฐ คิดภาษี 11% ในขณะที่สินค้าจากสหรัฐเข้าเวียดนามจะปลอดภาษี 100%
ทรัมป์เดินหน้า โจมตีพาวเวล์ ส่งปลดให้ได้ … หากเกิดขึ้นจริง USD อ่อนค่า ปัจจัยบวกต่อ ทองคำ
- ทรัมปหยิบยกประเด็นใหม่ขึ้นมาโจมตีนายเจอโรม พาวเวลล์ประธานธนาคารกลางสหรัฐ การจัดการที่ พาวเวล์แจ้งต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติ เกี่ยวการปรับปรุงสำนักงานใหญ่ของธนาคารกลางสหรัฐที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็น ทรัมป์กล่าวว่า พาวเวลล์ควร “ลาออกทันที”
- Deutsche Bank กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะปลดนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดแรงเทขาย เงินดอลลาห์สหรัฐและพันธบัตรรัฐบาลได้
Nvidia มีแผนเยือนจีน …. อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งการค้า ชิป ระหว่างสหรัฐ-จีน .. ปัจจัยบวกต่อทองคำ
- สมาชิกรัฐสภาสหรัฐส่งจดหมายถึง ซีอีโอของ Nvidiaเกี่ยวกับการเดินทางเยือนจีน โดยให้ Nvidia งดการพบปะกับจีน ที่อาจต้องสงสัยว่าบ่อนทำลายการควบคุมการส่งออกชิปของสหรัฐ
- Nvidia ตอบกลับ รัฐบาลสหรัฐไม่จำเป็นต้องกังวลว่ากองทัพจีนจะใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางทหาร ทั้งนี้ การไม่พบจีน จะทำให้ Nvidia สูญเสียรายได้ไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นเรื่อย
จีนรัสเซีย จับมือกันหารือ แก้วิกฤตในยูเครน… หากเกิดขึ้นจริง ปัจจัยกดดันทองคำ
- จีนและรัสเซีย เปิดเผยในแถลงการณ์หารือถึงความสัมพันธ์กับสหรัฐและแนวโน้มในการยุติสงครามในยูเครน พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่าง 2 ประเทศในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงในสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง, SCO, BRICS, G20 และ APEC
H4/H1 ราคาทองคำ ณ ปัจจุบัน ปรับตัวทะลุแนว Channel Uptrend ขึ้นไปได้ เข้าใกล้สู่บริเวณ QM Zone Day ที่กรอบราคา 3407-3373 ระวังแรงเทขาย ขณะที่สัญญาณ Bearish Divergence H1 เริ่มปรากฎต่อเนื่อง
คำแนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย+ สัญญาณการกลับตัว Bearish Divergence) ที่กรอบ 3374-3382 / SL3384 เพื่อทำกำไร 3368/3365/3360/3350/3348/3342
แนวรับ 3342/3326/3310
แนวต้าน 3374/3382/3397

Leave a Reply