กลยุทธ์การลงทุน GBPUSD ประจำวันที่ 26 มิ.ย. 2568

Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาขึ้น วานที่ผ่านราคา GBP ดีดขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ตลอดจนเช้านี้ราคาดีดขึ้นทดสอบบริเวณ Demand Day ตามกรอบ1.36990-1.37506 ทีให้ไว้ (ตามคาด) อานิสงค์เชิงบวกจากการอ่อนค่าของ USD(DXY)ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของ สหรัฐที่ออกมาแย่กว่าคาด อีกทั้งยังมีแรงขาย USD ในช่วงเช้าจากการเทขายธนาคารกลางฮ่องกง HKMA เทขาย USD (1200 ล้าน USD) 

ปิดแท่งวานนี้ Bullish Inverse Hammer

เช้านี้ USD ร่วงลงเล็กน้อย จาก HKMA ขาย USD…. ปัจจัยกดดัน USD ปัจจัยบวกต่อ GBP

  • ธนาคารกลางฮ่องกง HKMA เทขาย USD (1200 ล้าน USD) เพื่อซื้อเงิน ดอลลาร์ ฮ่องกง เพื่อพยุงค่าเงินของฮ่องกง ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีในการแทรกแซงค่าเงิน ทีธนาคารกลางฮ่องกงทำเมื่อปี 2023
  • ฮ่องกง ประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซา ตั้งแต่ปี 2024-2025 GDP 2.5% อสังหาหดตัวอย่างต่อเนื่องอีกทั้งกระแสเงินการท่องเที่ยวแบบประหยัด และเน้นการลงทุนสั้น จึงไม่สามารถสร้างเงินทุนหมุนเวียนภายในประเทศได้ต่อเนื่อง จึงทำให้ต้องมีการพึ่ง Carry trade (การซื้อขายหนักในช่วงเวลาสั้นๆ) แต่ส่งผลทำให้เงินมีความผันผวน จึงเป็นเหตุผลที่ HKMA ต้องวางกรอบ ค่าเงิน(ระบบ Linked Exchange Rate System LERS) กรอบค่าเงิน HKD $7.75-7.85 / 1 USD ซึ่งหากเงินฮ่องกงอ่อนค่า ต้องรีบขาย USD เพื่อเข้าซื้อ HKD เพื่อสมดุลย์ค่าเงินขอตนเอง (ในอนาคตหากค่าเงิน HKD อ่อนก็จะถูกขายมาเพื่อซื้อ USD ต่อไป)

Fed ให้การต่อวุฒิสภาสหรัฐ ส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย ทรัมป์โพสเตือน”ปลด” ก่อนพาวเวล์ให้การ … แรงเทขาย USD ปัจจัยบวกต่อ GBP

  • ทรัมป์ โพสใน Social truth เตือนพาวเวล์ หากยังไม่รีบลดดอกเบี้ย ตนเตรียมเสนอชื่อ ประธาน FED คนใหม่ ในเดือน ก.ย.- ต.ค. (แม้ว่า เจอโรมจะหมดวาระ ในเดือน พ.ค.ปีหน้าก็ตาม) ซึ่งโพสก่อน พาว์เวล์จะเข้าให้การกับวุฒิสภาสหรัฐ ราคา USD ปรับตัวร่วงทันที
  • ตลอดระยะเวลา 2 วันที่เฟดให้การกับทางวุฒิสภาสหรัฐ โดยย้ำเรือ่งภาษีทรัมป์ที่อาจก่อให้เกิด “เงินเฟ้อถาวรกว่าเดิม” จนกว่าจะได้เห็นตัวเลข CPI ในเดือน มิ.ย. – ก.ค. ก่อนตัดสินใจ
  • แม้ว่ามีเสียงจาก ส.ส.และทรัมป์ที่อยากให้ลดดอกเบี้ยทันที แต่ Fed ยืนยันจะยังไม่ลดดอกเบี้ย ในเดือน ก.ค. (แต่ Fed Watch Tool ปรับเพิ่มโอกาสการลดดอกเบี้ย 0.25% ในเดือน ก.ค. เป็น 25.7% (ก่อนการให้การ 17.1%)
  • นอกจากนี้ Fed ยังค้าน การยกเลิกอำนาจของเฟด ในการจ่ายดอกเบี้ย บนเงินสำรองธนาคาร (เงินสำรองน้อย จะผันผวนมาก) นอกจากนี้ยังตอบข้อโต้แย้ง ในการที่ FOMC มีการปรับปรุงอาคาร Eccles ที่ใช้งบประมาณมากเกินไป

สถานะการณ์ อิหร่าน – อิสลาเอล เริ่มผ่อนคลาย …. ปัจจัยบวกต่อ GBP (กดดัน USD)

  • ทรัมป์ กล่าว “สหรัฐจะจัดการประชุมกับอิหร่าน สัปดาห์หน้า” ย้ำ “การโจมตีของสหรัฐ ต่อโรงงานนิวเคลียร์ นาทานซ์ อิสฟาฮาน และ ฟอร์โดว์ ได้ทำลายล้าง โรงงานเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว”
  • ทรัมป์ เห็นขัดแย้งกับ IAEA (สำนักงานปรมาณูระหว่างประเทศ)ที่เรียกร้องให้มีการ กลับมาตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านเร็วขึ้น คาดว่าการทิ้งระเบิดของสหรัฐในการทำลายโรงงานนิวเคลียร์ ทำได้ไม่สมบรูณ์ ทรัมป์กล่าว “เชื่อว่าโรงงานนิวเคลียร์เสียหายอย่างหนัก จากการโจมตี แต่ยังคงประเมินสถานะการณ์ในพื้้นที่อยู่”

ถ้อยแถลงของ แอนดรูย์ เบร์เล่ย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษ 24 มิ.ย. กับถ้อยแถลงครั้งใหม่ในวันนี้ 26 มิ.ย. … หากคงดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยบวกต่อ GBP

  • เงินสำรองของธนาคารกลาง จะปรับลดลงสู่ภาวะปกติ(550 พันล้านปอนด์) ในอนาคตอันใกล้ (ช่วง Covid19 ระบาด BOE มีการทำ QE เพิ่มขึ้นในธนาคารกลางเพื่อเป็นเงินสำรอง หลังจากนั้น BOE มีการดึงเงินสำรองออกสู่ตลาด เพื่อปรับเงินสำรองให้อยู่ในสภาวะเดิม (คงตัว) เพราะหากมีเงินสำรองในธนาคารกลางมากเกินไป จะส่งผลทำให้ดอกเบี้ยต่ำ และเงินเฟ้อได้)
  • ตลาดแรงงานเริ่มอ่อนแรง อาจทำให้เงินเฟ้ออาจเพิ่มสูงขึ้นได้
  • ความเสี่ยงจากการค้าโลก ยังคงต้องติดตามดู เนื่องจากมีผลต่อระบบเศรษฐกิจหากอยู่ในสภาพวะ เศรษฐกิจชะลอตัว การลดดอกเบี้ยจะเป็นประโยชน์กับการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้ยังคงรอความชัดเจนจากตัวเลขเศรษฐกิจ
  • การประชุมล่าสุดในเดือน มิ.ย. BOE ประกาศคงดอกเบี้ย ที่4.25% ในขณะที่การประชุมครั้งถัดไป “ไม่ยืนยันว่าจะมีการลดดอกเบี้ยใน ส.ค.หรือไม่”

H4 /H1 GBP ปรับตัวเคลือนที่ใน Channel Uptrend ราคาดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน Day ประกอบกับเริ่มปรากฎสัญญาณการกลับตัว Bearish Divergence ลงมา

คำแนะนำ

  • เปิดสถานะขาย(รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 1.37500 -1.38169 / SL SL 1.38700 เพื่อทำกำไรที่ 1.36926/1.36852/1.36713/1.36677/1.36542
  • เปิดสถานะซื้อ เพื่อทำกำไรระยะสั้น(รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 1.36399-1.36718 / SL 1.36000 เพื่อทำกำไรระยะสั้น 1.36773/1.36820/1.36899/1.36926/1.36992

แนวรับ 1.36387/1.35790/1.335239

แนวต้าน 1.38169/1.38790/1.39549

ปฏฺิทินเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 26 มิ.ย. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • ติดตามถ้อยแถลงของ แอนดรู แบลีย์ จะส่งสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า (ส.ค.)หรือไม่ หากส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยกดดัน GBP
  • ติดตามตัวเลข Final GDP สหรัฐ หากตัวเลขต่ำกว่าคาด จะกดดัน USD แต่เป็นปัจจัยบวกต่อ GBP

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *