Day โครงสร้างรายวัน เป็นเทรนด์ขาขึ้น แต่ยังคงทรงตัวในกรอบแคบ เช่นเดียวกับ USD ในลักษณะสวนทิศทาง / ปิดแท่งรายวัน Bullish Dragon Fly Doji ราคามีแรงเทขายตลอดเช้าวานที่ผ่านมา ปัจจัยการกดดันจากการแข็งค่า(ทรงตัว) ของ USD ในฐานะ Save Have ก่อนมีการ แข็งค่าขึ้นในช่วงค่ำจากการประชุมข้อสรุปด้านการลงทุนด้านกลาโหมใน อียู
การทรงตัวของ USD (ในฐานะ Save Haven) … กดดัน GBP
รัสเซีย-ยูเครน
- รัสเซีย ทยอยปล่อยตัวประกัน ทหารยูเครน 197 คน (ซึ่งรวม 22 คน บาดเจ็บสาหัส) คืนสู่ยูเครน
- แม้ว่าข้อสรุป โดนัลด์ ทรัมป์ และ ปูติน ได้ข้อสรุปเพียงแค่บางส่วน คือ รัสเซียยินยอมเพียงแค่ การหยุดโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของกันและกัน 30 วัน แต่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนี้ ยูเครนเปิดฉากถล่มคลังน้ำมันในรัสเซียทางอากาศ ด้วยโดรน หลายร้อยลูก ในขณะที่กลางดึกรัสเซียใช้โดรน กว่า 150 ตกกระทบ กรุงเครียฟเมืองหลวงยูเครน เพื่อเป็นการตอบโต้กลับ
- คืนที่ผ่านมา ทรัมป์ โทรหาเซเลนสกี้ เพื่ออัพเดทข้อมูลและข้อตกลง ที่มีการพูดคุยกับรัสเซียคืนก่อนให้ยูเครนรับทราบ การพูดคุยเป็นไปได้ดี หัวข้อสนทนาคือต้องการใกล้เกลี่ยความต้องการของทั้งสองฝ่าย ทรัมป์แจ้งเซเลนสกี้รับทราบว่าจะมีการส่งเรื่องต่อให้ Marco Rubio (รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ)จะเป็นผู้ประสานงานต่อ จากฝั่ง อเมริกา , ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ Newyork Times ระบุว่า “วัตถุประสงค์การเจรจาครั้งนี้คือ ทรัมป์ขอโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในยูเครน ให้สหรัฐเป็นผู้ดูแล เพื่อแลกกับการที่อเมริกาจะส่งทหารเข้าป้องกันยูเครนจากการโจมตีของรัสเซีย”
- นักวิเคราะห์ คาดว่า รัสเซียกำลังได้เปรียบในการควบคุมเมืองฝั่งตะวันออกได้ตลอดแนว ยูเครนได้สำเร็จ (โครเมีย ,ซาโปริสเซีย, โดเนตสก์,ลูอันสก์ และล่าสุด เคิร์สก์) ซึ่งจะเป็นการง่ายในการยกทัพเข้าสู่กลางยูเครน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการพูดถึงการหยุดยิงแบบครอบคลุม มีเพียงพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานพลังงานเท่านั้นที่รัสเซียยังเสียเปรียบอยู่ จึงเป็นการขอยุดติการยุดยิงเฉพาะพื้นทีดังกล่าว
สหภาพยุโรป + อังกฤษ + แคนาดา เริ่มหวั่นภัยคุกคามใกล้ตัว หากยูเครนยอมรับสันติภาพ
- – เยอรมนีแก้กฎหมายงบประมาณ (Debt Brake:ห้ามใช้เงินมากกว่างบประมาณที่หาได้ โดยไม่มีการดึงเงินสำรอง ตลอดจนห้ามกู้เงินมาใช้) ในการเพิ่มงบประมาณทหาร ส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวขึ้นรับข่าว (FTSE + 0.29% / CAC40 +0.5%/ Dax +0.98%)
– กลุ่มประเทศยุโรป ทยอยเพิ่มงบประมาณ ทางทหาร เอสโตเนียเพิ่มงบ 5%ของ GDP,โปรแลนด์ 4.75% ของงบกลาโหม เช่นเดียวกับ อังกฤษ ที่ประกาศ จะเพิ่มงบกลาโหม 5% ของ GDP หลายอาทิตย์ก่อนหน้าแล้ว แม้ว่า Nato จะกำหนดให้แต่ละประเทศต้องร่วมงบประมาณ 2% GDP แต่ละประเทศ แต่การประชุมล่าสุด สหรัฐเรียกร้องให้แต่ละชาติควรเพิ่มงบประมาณมากขึ้นเป็น 5%GDP เพื่อจะได้ไม่ต้องอาศัยอำนาจของอเมริกาผู้ซึงทุ่มเทให้กับ Nato มากเกินไป
– โปรแลนด์ และ บอร์ติก (บอร์ติก : เอสโตเนีย+ลัตเวีย+ ลิทัวเนีย ซึ่งอยู่ติดกับรัสเซียโดยตรง) ออกจากอนุสัญญาออตโตวา (ห้ามการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล)
– ฝรั่งเศส วางแผนแจก – ใช้คู่มือการเอาตัวรอด ให้กับพลเมืองฝรั่งเศส ในกรณีภัยคุกคามที่ก่อตัว เช่นวิกฤต ด้านสุขภาพ ภัยธรรมชาติ ความขัดแย้งด้านอาวุธ - คณะกรรมาธิการยุโรป อนุมัติงบประมาณ 15,000 ล้านยูโร เป็นเงินกู้ยืมเพื่อการลงทุนเพื่อพัฒนาอาวุธกับประเทศสมาชิก (อังกฤษ,ตุรกี อาจจะไม่รับสิทธิในการกู้ยืมเงินในครั้งนี้ เนื่องจากทั้งสองประเทศไม่ได้อยู่ในสมาชิกของสหภาพยุโรป) ทั้งนี้หากสองประเทศมีความประสงค์อยากจะกู้ยืมเงินจำเป็นที่จะต้องลงนามความร่วมมือด้านการรบ
- แคนาดาให้ความสนใจและเตรียมเข้าร่วมกับ โครงการ Military Industry Hub กับกลุ่มประเทศยุโรป เนื่องจากการหวั่นเกรงภัยคุกคามจากสหรัฐ ในการยึดแคนาดา เป็นรัฐที่ 51 เช่นเดียวกันนโยบายในการยึด Green Land หลังทรัมป์มีนโยบาย The Greatness of America
ความไม่สงบในตะวันออกกลาง
- หลังข้อตกลงหยุดยิง อิสราเอล – ฮามาสล่มลง (วันที่ 19 ม.ค.) โดยอิสลาเอลอ้างสิทธิในการเปิดฉากถล่มฉนวนกาซ่า เนื่องจากฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันที่เหลือ ทั้ง 59 คน อิสลาเอลยังคงเปิดฉากการโจมตีอย่างต่อเนื่องวานนี้ กลยุทธ์ Encirclement Attack (การล้อมกรอบฉนวนกาซ่า และค่อยๆบีบเข้าถึงแกนกลาง) มีการทิ้งระเบิดอาคาร UN เจ้าหน้าที่ดับ หนึ่งราย รวมผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมากกว่า 400 ราย
- สหรัฐยังคงโจมตี กลุ่ม ฮูติ ในประเทศเยเมนอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อิหร่านออกมาปฎิเสธไม่ได้ให้การช่วยเหลือใดๆกลับกลุ่มฮูติ ตาดการโจมตีจะมีขึ้นอีกหลายอาทิตย์
การชะลอการลงทุน จากนโยบายภาษีโดนัลทรัมป์ ... ปัจจัยกดดัน USD ปัจจัยบวกต่อ GBP
- นักลงทุนยังคงชะลอการลงทุนในสหรัฐ หลังจากมาตราการนโยบายการขึ้นภาษีในสหรัฐ (ทั้งที่ประกาศใช้ไปแล้วและรอการประกาศใช้ Reciprocal Tariffs ในวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งกังวลว่าสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้เร็วกว่าสัญญาณ
- Fed ปรับลด การเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐ (GDP) จาก 2.1% เหลือ 1.7% (สัญญาณการเกิด เศรษฐกิจถดถอยคือ GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส การปรับลด GDP ถือเป็นวิธีการยืดหยุ่นไม่ให้เกิดสัญญาณเร็วขึ้น)
- Fed ประกาศคงดอกเบี้ย คาดว่ายังไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการปรับขึ้นดอกเบี้ ทั้งในเดือน พ.ค. เช่นกัน
- Fed เพิ่มเป้าเงินเฟ้อ ยอมรับปัจจัยนโยบายทางภาษีของทรัมป์ มีผลต่อเงินเฟ้อ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีผลเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
H4/H1 โครงสร้างราคาเป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคาเคลือ่นทีาทดสอบบริเวณแนวรับ H4 และดีดขึ้นไปทดสอบบริเวณต้าน Supply H4 ก่อนปรับย่อตัวลง (ตามคาด)
ทั้งนี้ราคายังคงเคลื่อนที่ในเทรนด์ไลน์ขาขึ้น ซึ่งยังคงปรากฎ Hamonic Shark หรือ Cypher Pattern ซึ่งมีโอกาสที่จะปรับตัวร่วงลง และดีดขึ้นมาภายหลัง
- ราคาปรับตัวร่วงลง ทันที่ตัวเลขประกาศ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิว่างงาน สูงขึ้นเกินเท่าตัว ในขณะที่รายได้เฉลี่ยในช่วงเวลา 3 เดือน ต่ำกว่า 3 เดือนก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนภาคเศรษบกิจฝั่งอังกฤษที่ยังคงซบเซา
คำแนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 1.30094-1.30272 / SL 1.31000 เพื่อทำกำไร 1.29578/1.29435/1.29245/1.29056/1.28822/1.28427
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 1.28044-1.8442 / SL 1.28060 เพื่อทำกำไรที่ 1.28998/1.29275/1.29470
แนวรับ 1.28427/1.28054/1.27692
แนวต้าน 1.30212/1.30556/1.31014

ปฏิทินเศรษฐกิจ 20 มี.ค. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน FOMC ระบุการประชุม FED ในเดือน มี.ค.มีประเด็นดังนี้
– คงดอกเบี้ย 4.25-4.50 / หั่น GDP / เพิ่มเป้าเงินเฟ้อ
– อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เฟดตัดสินใจเชิงเทคนิค “ชะลอ” อัตราการลดงบดุล (QT)
– ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคลดลง แต่ยังคงเห็นความไม่แนนอนในตัวเลขประกาศ จำเป็นที่ยังคงติดตามดูก่อนตัดสินใจ
– ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะสมดุล และแรงงานได้ได้กดดันเงินเฟ้อ ขณะที่ PCE (Personal Price Index) อัตราการใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 2.5% และ Core PCE (ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลไม่รวมอาหารและพลังงาน) เพิ่ม 2.8% แสดงว่าราคาสินค้า อยู่ในระดับราคาที่สูง คาดการณ์มาจากนโยบายการขึ้นภาษีสินค้าของทรัมป์
– เฟด ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบปรับนโยบายทางการเงิน (ตลาดจะมีความผันผวนในช่วงเวลาสั้นและ และกลับมาเข้าสู่ Mode Technical ตามโครงสร้างราคาเช่นเดิม : ตามคาด)
– เฟดกล่าวถึงนโยบายการเงินที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า หาก เศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง เฟดสามารถรักษานโยบายตึงตัวได้นานขึ้น ไม่รีบลดดอกเบี้ยในเดือน พ.ค.
– เฟตกังวลต่อ อัตราเงินเฟ้อที่มีผลตามมาจาก นโยบายภาษีของทรัมป์ และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า นโยบายภาษี ส่งผลเป็นต้วเลขเงินเฟ้อ กี่เปอร์เซ็นต์ และยังคาดการว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงจากปัจจัยภาษี
– จาก Fed Press Conference นักเศรษฐศาสตร์ คาดการว่าเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะถดถอยในอเมริกา แต่ยังไม่ได้เร็วไปมากกว่าสัญญาณการเกิด - ติดตามประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ฝั่งอังกฤษ คาดว่าจะคงดอกเบี้ยที่ 4.50 % ทั้งนี้หากประกาศลดดอกเบี้ยจะส่งผลให้ความน่าลงทุนในฝั้่ง อังกฤษน้อยกว่าฝั่งอเมริกา
Leave a Reply