Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาขึ้น วานนี้ GBP ช่วงเช้า – บ่าย ดีดขึ้นก่อนจากปัยจัยการอ่อนค่าของ USD(DXY) จากความกังวลว่า ว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเร็วเกินคาด (และอาจมากกว่า 0.25% ในการลดแต่ละครั้ง) หลังทรัมป์ออกมา วิจารณ์ และข่มขู่การทำงานของ เจอโรม พาวเวล์ ประธานธนาคารกลางเฟด แต่ในช่วงค่ำ หลังแถลง ของ แอนดรู แบร์เลย์ ประธาน BOE ตัดสินใจลดดอกเบี้ยในเดือน ส.ค. (GBP ปรับตัวร่วงลง) และ เจอโรมพาวเวล์ แถลง ยังไม่รีบลดดอกเบี้ย (ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP) ปิดแท่งวานนี้ Bullish Doji
ถ้อยแถลง แอนดรู แบร์เลย์ ประธาน BOE … กดดัน GBP
- 1 มิ.ย. แถลง ตลาดแรงงานอังกฤษอยู่ในสภาวะอ่อนแรง แต่ช่วยให้ลดแรงกดดันเงินเฟ้อ
– ตัดสินใจลดดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป (restrictive)
– จะลดดอกเบี้ยในเดือน ส.ค. (ดอกเบี้ยปัจจุบัยอังกฤษ ที่ 4.25%)
– กำลังพิจารณาในการ ลดจังหวะในการขายพันธบัตร (Quantitative Tightening) /
พาวเวล สวนกลับยังไม่รีบลดดอกเบี้ย หากตัวเลขเศรษฐกิจไม่ชัดเจน …. ปัจจัยบวก USD ปัจจัยกดดัน GBP
- ทรัมป์เดินหน้ากดดัน เจอโรม พาวเวล์ ให้รีบลดดอกเบี้ย โดยกล่าวว่าเขามีตัวเลือกอันดับต้น 2-3 คน ที่จะมาแทนที่เจอโรม พาวเวลล์ (เควิน วอร์ช อดีตผู้ว่าการเฟด / เควิน แฮสเซตต์ ผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ / กอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลัง)
- เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า “Fed น่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินไปแล้ว หากไม่มีแผนภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” ทั้งนี้จำเป็นต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจ จากผลกระทบจากนโยบายภาษีทรัมป์ก่อน ยันไม่รีบร้อน
- สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ภายในเดือนก.ย.
การเจรจาการค้า สรัฐ – นานาประเทศ ก่อนเส้นตาย 9 ก.ค.… ปัจจัยบวกต่อ GBP (การเจรจากาค้า สหรัฐ – อังกฤษได้ผลข้อยุติที่พอใจทั้ง 2ฝ่าย)
- ทรัมป์ ย้ำ “เส้นตาย 9 ก.ค. นี้ สำหรับประเทศไม่บรรลุข้อตกลงได้ โดยจะมีการปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% และสำหรับประเทศที่เลือกจะไม่เจรจาการค้ากับสหรัฐ จะด้องโดนภาษี ฝ่ายเดียว ที่สหรัฐจะเป็นผู้เรียกเก็บ ตามวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งรวมไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย
- สหรัฐ- ญี่ปุน : •การเจรจาการค้า ไม่คืบหน้า ญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญ ภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จากสหรัฐ 25% ภาษีเหล็กอะลูมิเนียม 50% ในขณะที่ญี่ปุ่น “ไม่ยอมรับการนำเข้าจากสหรัฐ” ทั้งนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนข้าวอย่างหนัก จากปัญญา เกษตรกรวัยชรา และ มวลอากาศร้อน จากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์
- ในขณะที่อาจจะมี การเลือนกำหนดเส้นตาย ออกไปสำหรับประเทศคู่ค้าหลักที่กำลังเจรจาการค้าในขณะนี้
– สหรัฐ – แคนาดา : เลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 21 ก.ค. นายกรัฐมนตรี แคนาดา มาร์ คาร์นีย์ ตัดสินใจยกเลิกการเก็บภาษีบริการดิจิทัล ( Digital Service Tax )3% กับบริษัทเทคโนโลยี สหรัฐ ในวันจันทร์ทีผ่านมา ทั้ง Meta Amazon Google Uber (เป็นเวลา 5 ปี) เพื่อหวังกลับมาเจรจาช้อตกลงการค้าฉบับใหม่
– สหรัฐ – สหภาพยุโรป : •การเจรจายังคงไม่มีความคืบหน้าชัดเจน สหรัฐต้องการให้ ยุโรป ผ่อนคลาย กฎระเบียบเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียและบริษัทเทคโนโลยี ในขณะที่ยูโรยังคงปฎิเสธ เพราะเชื่อ “การปกป้องสิทธิพลเมือง เป็นเรื่องจำเป็นต่อประชาธิปไตย” ทั้งนี้ EC ดำเนินคดี กับบริษัท
* Meta(Facebook) ของสหรัฐ ข้อหา “ละเมิดการต่อต้านการผูกขาด ตลาด ดิจิทัล”
* Nvidia ของสหรัฐ ฝรั่งเศส ตั้งข้อหา “ ดำเนินการต่อต้านการแข็งขัน “การค้าแบบเสรี” ด้วยการใช้ AI อย่างไม่เป็นธรรม
– สหรัฐ – อินเดีย : ยังคงติดปัญหาเพียงแค่เรือง ฝ่าย ยังไม่สามารถบรรลุได้ สหรัฐฯ ที่ต้องการให้อินเดียเปิดตลาดพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งอินเดียปฏิเสธ โดยอ้างถึงความเสี่ยงต่อเกษตรกร ในขณะเดียวกัน อินเดียไม่เต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลงที่ไม่ครอบคลุมภาคส่วนเกษตรกรรม ซีง่ยืนยันเว่าเป็น “เส้นแดง”ของตน ที่จะไม่ถูกข้าม
– สหรัฐ – จีน : จีนต้องการให้การเจรจาการค้า ระหว่าง สหรัฐ – จีน เกิดขึ้นโดยมี WTO เป็นแพลตฟอร์มตัวกลาง เรียกร้องให้นานาชาติเจรจากับสหรัฐแบบ “พหุภาคี” (มีตัวกลาง) ในขณะที่ สก็อตต์ เบสเซนต์ รมต คลัง สหรัฐ ระบุว่า หลังจากการเจรจาการค้า สหรัฐ-จีน ในเดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน แร่หายากจากจีน ยังคงไม่กลับมาสู่ระดับปกกติ ก่อน 4 เม.ย. “หวังว่าจีน จะปฎิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้”
H4 /H1 GBP ปรับตัวเคลือนที่ใน Channel Uptrend ราคาดีดขึ้นชน Supply Day ที่กรอบ 1.37920-1.38249 ปรับตัวร่วงลง (ตามคาด) ประกอบกับ มีสัญญาณ Bearish Divergence ราคาเคลื่อนไหวออกข้าง มีโอกาสเกิด Harmonic Shark Pttn
คำแนะนำ
- เปิดสถานะขาย หากราคาปิดแท่ง H1 ต่ำกว่า 1.36753 (ที่กรอบ 1.36986-1.36753) SL ที่ 1.37000 เพื่อทำกำไรที่ 1.36594/1.36501/1.36351/1.36181/1.36109
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ)ที่กรอบ 1.35797-1.36117/ SL 1.35000 เพื่่อทำกำไรที่ 1.36785/1.36992/1.37199
แนวรับ 1.36771/1.36426/1.36117
แนวต้าน 1.38169/1.38790/1.39549

ปฎิทินเศรษฐกิจ 2 ก.ค. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- ติดตามตัวเลข APD Non-Farm การจ้างงานนอกภาคการเกษตร หากตัวเลขออกมามากว่าคาดการณ์ (ชนิดเกินคาดหมาย) จะเป็นปัจจัยบวกต่อ USD และกดดัน GBP แต่หาก ตัวเลขออกมาใกล้เคียงหรือน้อยกว่า เดือนก่อนหน้า ปัจจัยลบต่อ USD ซึ่งเป็นบวกต่อ GBP แต่ทั้งนี้ เนื่องจาก การประกาศ Nonfarm จากกระทรวงแรงงานสหรัฐ จะมีขึ้นในวันพรุ่่งนี (ย้ายจากวันหยุดวันศุกร์สหรัฐ) อาจจำทำให้วันนี้มีโอกาสที่จะไม่ผันผวนเท่าวันพรุ่งนี้
Leave a Reply