กลยุทธ์การลงทุน GBPUSD ประจำวันที่ 17 ก.ค. 2568

Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาขึ้น แต่หากราคาสามารถปิดต่ำกว่า บริเวณ 1.33686 จะถือว่าสิ้นสุดโครงสร้างเทรด์ขาขึ้น (Choch Day) วานนี้ราคา GBP ยังคงไหลลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของ USD (DXY) ทั้งในเรื่องการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกวาเดือนทีแล้ว ส่อเค้าว่า FED จะตัดสินใจคงดอกเบี้ยระยะยาว ส่งผลให้ USD (DXY) กลับมาแข็งค่า ประกอบกับในเวลาถัดมา โดนัลป์ทรัมป์ ประกาศ สหรัฐ-อินโดนิเซีย บรรลุข้อตกลงทางการค้า เป็นประเทศที่ 3 ส่งผลให้ USD กลับยิ่งแข็งค่า กดดัน GBP ให้ปิดแท่ง Bearish Marubozo with top shadow ร่วงติดต่อกันเป็นวันที่ 3

CPI y/y เงินเฟ้อสหรัฐ แย่เกินคาด อาจส่งผลให้ Fed ยังคงดอกเบี้ย… ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP

  • 16 ก.ค. ประกาศตัวเลข CPI y/y (เงินเฟ้อ) ออกมาที่ 2.7% (คาดการณ์ 2.6 ก่อนหน้า 2.4%) สะท้อนเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในขณะที่  Core CPI m/m (ดัชนีผู้บริโภค ไม่รวม อาหารและพลังงาน) ออกมา 0.2% ซึ่งสูงกว่าเดือนที่แล้ว(0.1%) เล็กน้อย (ราคารถยนต์ ค่าตั๋วเครื่องยิน และค่าที่พัก ลดลง) นักลงทุนคาดาการณ์ ปัจจัยดังกล่าวเป็นเหตุผลให้ Fed ยังคงตัดสินใจ “คงดอกเบี้ย” ต่อไปในระยะยาว ซึ่งส่งผลดีต่อ USD และกดดันราคาน้ำมัน
  • 15 ก.ค. ทันที่คาดาการณ์ Fed คงดอกเบี้ย ทรัมป์ ออกมาวิจารณ์ Fed อย่างแข็งกร้าว ว่าเฟดควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยทันที 3% โดยอ้างว่าเงินเฟ้อต่ำ (Low inflation) พร้อมระบุว่า เจอโรม พาวเวล์ เป็น “knucklehead” นอกจากนี้ยังใช้ เหตุการณ์ที่เจอโรม ให้การต่อ วุฒิสภา ในเรื่องการเบิกงบเพื่อปรับปรุงสำนักงานเฟด มีค่าใช้จ่ายที่บานปลาย เรียกว่า “การกระทำผิด” เรียกร้องให้เฟด ลาออก และจะดำเนินการฟ้องให้ เฟด ลาออก เนื่องจากกระทำผิดวินัยร้ายแรง
  • ทรัมป์ กล่าวเริ่มขบวนการสรรหา ประธาน Fed คนใหม่ เริ่มต้นขึ้นแล้ว และปฎิเสธ ที่จะให้ สก็อตต์ เบสเซนต์ รมต คลังคนปัจจุบันแทน โดยกล่าวว่า ยังคงชอบการที่สก็อต ยังคงอยูในตำแหน่ง รมต คลัง

สหรัฐ- อินโดนิเซีย บรรลุข้อตกลงทางการค้า… ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP

  • 15 ก.ค. ทรัมป์ ประกาศบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่าง สหรัฐ -อินโดนิเซีย โดยสินค้านำเข้าสหรัฐจากอินโดนิเซียคิดภาษีนำเข้า 19% (จากเดิม 32%) และสิ่นค้าสหรัฐเข้าอินโดนิเซีย “ปลอดภาษี” นอกจากนี้อินโดนิเซียยืนยันที่จะนำเข้า พลังงานจากสหรัฐ 15 พันล้าน USD
    / สินค้าการเกษตร 4-4.5 พันล้าน USD / เครื่องบิน Boeing 50 ลำ
    ตลอดจนให้ความร่วมมือ ด้านแร่ธาตุอีกด้วย แต่ทั้งนี้ยังคง ขาด เอกสารสรุปข้อตกลง”เต็มฉบับ” ยังไม่มีการเผยแพร่ / อินโดฯ ยังไม่มีการแถลงยืนยัน / ยังไม่การระบุกรอบเวลาการน้ำเข้า ตามสัญญา

สหรัฐ-จีน กลับมาเดินตามกรอบการเจรที่ลอนดอนล่าสุด…. ปัจจัยบวกต่อ USD กดดัน GBP

  • สก็อตต์ เบสเซนต์ รมต คลังสหรัฐ ส่งสัญญาการเจรจาการค้ากับจีน คาดออกมาดี ก่อนกำหนด 12 ส.ค. ตามข้อตกลงที่ลอนดอนที่ทั้ง 2 ประเทศจะต้องร่วมมือกัน ในการผ่อนคลาย
    – จีน ผ่อนคลาย การส่งออกแร่ Rare Earth ให้ สหรัฐ : เริ่มมีการอนุมัติส่งออก Rare Earth ให้กับบริษัทสหรัฐ หลายราย
    – สหรัฐ ผ่อนคลายการส่งออก ชิป ให้กับจีน : ล่าสุด โฮเวิร์ด ลุตนิก รมต พาณิชย์สหรัฐ อนุญาตให้ Nvidia กลับมาจำหน่ายชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) รุ่น H20 ให้กับจีนอีกครั้ง และอนุญาติให้ Advanced Micro Devices (AMD) จะสามารถเริ่มจัดส่งชิป AI “MI308” ไปยังจีนในไม่ช้า

H4/H1 โครงสร้างเทรนด์ขาลงระยะสั้น ราคาปรับตัวร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ทะลุกรอบ Channel Downtrend ในขณะที่การยังคงไม่มีสัญญาณการกลับตัวขึ้น

คำแนะนำ

  • เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) บริเวณกรอบ 1.34009-1.34175/ SL 1.35000 เพื่อทำกำไร 1.339766/1.33905/1.33739/1.33593/1.33503

แนวรับ 1.33686/1.33304/1.32767

แนวต้าน 1.34683/1.34963/1.35338

ปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ 16 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • ถ้อยแถลงแอนดรูย์ แบลลี่ กล่าวถึง ปัญหาเศรษกิจระดับโลก ควรแก้แบบ พหุภาค (ที่จำเป็นต้องมีองค์การระดับโลกเข้ามาเป็นตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็น IMF WTO และ FSB) และความไม่สมดุล เกิดดุลย์กับสินค้าจีนและขาดดุลย์กับสินค้าสหรัฐ / จำเป็นต้องใช้รีบในการปฎิรูป เทคโนโลยีเงินดิจิทัล และ Stable Coin
  • CPI y/y อังกฤษ ประกาศ 3.6 % ซึ่งมากกว่าเดือนที่แล้วและคาดการณ์ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ยกระดับสูงขึ้น กดดันราคา GBP
  • ติดตามประกาศตัวเลข PPI ดัชนีการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในเชิงผู้บริโภค หากตัวเลข มากกว่า 0.2% จะส่งผลให้ตลาดคาดว่าเงินเฟ้อยังคงมีสูงอยู่และส่งผลให้ USD แข็งค่าขึ้นเนื่องจาก เฟดยังคงตัดสินใจในการคงดอกเบี้ย GBP อาจปรับตัวย่อลงได้ แต่หาก PPI ออกมาดีกว่าเดือนที่แล้วที่ 0.1% USD อ่อนค่าและเป็นปัจจัยบวกต่อ GBP เช่นกัน
  • หากคืนนี้ ทรัมป์มีการประกาศ ผลการบรรลุข้อตกลง สหรัฐ – นานาชาติ (โดยเฉพาะ 20 ประเทศคู่ค้าหลักกับสหรัฐ) จะเป็นปัจจัยบวกต่อ USD และกดดัน GBP

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *