Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคายืนทรงตัวในกรอบแคบ ปิดจบด้วยแท่ง Bullish Doji บริเวณแนวต้าน Supply H4 วานนี้ราคาพยายามดีดตัวขึ้นตลอดทั้งวันแม้มีการลากไส้บ้างในช่วงประกาศ USA CPI y/y แต่ดูเหมือนปัจจัยอ่อนค่า USD (DXY) ในเรื่องความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย มีมากกว่า ส่งผลให้ USD ปรับตัวร่วงลง GBP ได้อานิสงค์เชิงบวกก่อนปิดตลาดในโซนบวก
- JP Morgan (ธนาคารเพื่อการลงทุน อันดับ 1 ของโลก) คาดว่ามีความเป็นไปได้ถึง 40% ที่สหรัฐจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2025 นี้ และเป็นไปได้ถึง 50% หาก โดนัล ทรัมป์ยืนยันที่จะดำเนินการขึ้นภาษีแบบตอบโต้
- สหภาพยุโรป ประกาศตอบโต้นโยบายการขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียม 25% จากสหรัฐ ด้วยการขึ้นภาษีกลับ 25% จากสินค้าสหรัฐ เช่นเดียวกับ แคนาดา โดยจะเรียกเก็บสินค้านำเข้าจากสหรัฐ ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม คอมพิเตอร์ เหล็กหล่อ อุปกรณ์กีฬา ซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้เป็นต้นไป
- ปริมาณเฟนาทานิลที่ยึดได้บริเวณชายแดน สหรัฐ-แม็กซิโก ปรับตัวลดลงอย่างมากตั้งแต่ ม.ค. ซึ่งอาจจะเสริมอำนายต่อรองของแม็กซิโก ในการที่สหรัฐกำหนดสินค้านำเข้าจากแม็กซิโกถึง 25%
- สหรัฐไม่สามารถผลิต กาแฟ ข้าวโอ็ต โกโก้ เครื่องเทศ ผลไม่พืนเมืองร้อน แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก (กระป๋องใส่อาหาร) หลายบริษัทผุ้ผลิตสินค้าทีต้องใช้วัตถุดิบดังกล่าว เช่น Pepsi Co, Quaker Oats …. เรียกร้องให้ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าว เพราะไม่มีแหล่งผลิตชดเชยในสหรัฐ
- CPI m/m และ CPI y/y ลดลงเกินคาด นักลงทุนคาดว่า Fed จะดำเนินการ คงดอกเบี้ยในการประชุม FOMC วันที่ 18 มี.ค. และคาดการว่าจะ ปีนี้จะปรับดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง
- โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ย จะทำให้ ผลตอบแทนพันธบัตร US Treasury ลดลง ทำให้การถือ USD ไม่น่าสนใจ นักลงทุนขาย USD และย้ายไปสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า เช่น ทองคำ , หุ้น หรือ ค่าเงินอื่นๆ แต่จะได้เป็นปัจจัยบวกต่อ Magnificent 7 (หุ้น 7 นางฟ้า) ซึ่งเป็นหุ้นเทคโนโลยี แต่หุ้นตัวอื่นๆจะไม่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย จะมีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจถดถอยมากกว่าและมีความเป็นไปได้ที่จะโยกเงินลงทุนออกจากสหรัฐ
- ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ USD กลับมาแข็งค่าได้ คือเรื่อง การเป็น Save Haven ปัจจัยเสี่ยงเกิดสงคราม รัสเซีย-ยูเครน : รัสเซียยังคงไร้วี่แวว ในการตอบรับ ข้อเสนอหยุดยิง 30 วัน โดยอ้างว่าจำเป็นต้องปรึกษากับ โดนัลทรัมป์ก่อน ในวันนี้ 13 มี.ค. (ข้อเสนอรัสเซีย ห้ามมิให้ Nato ตั้งกองกำลังอาวุธ ในยูเครน หรือรับยูเครนเป็นสมาชิก + ยูเครนต้องถอนกำลังออกจากเมืองที่รัสเซียอ้างสิทธิครอบครองไว้แล้ว Donetsk ,Luhansk, Zaporizhzhia และ Kherson
- ปูติน สวมชุดทหารเยือนเมือง Kursk ชายแดนรัสเซียติดยูเครน คาดเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์การเข้าร่วมสงคราม (ในข้อเสนอหยุดยิง ที่จัดทำขึ้น 2 วันก่อน โดยยูเครน และ สหรัฐ ณ ซาอุดิอาระเบีย ว่าด้วยเรื่องข้อกำหนดยุติยิง ยังประกอบไปด้วยเรื่อง การเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนนักโทษ และเด็กๆกลับสู่ยูครน / การยืนยันที่จะให้ยุโรปเข้าร่วมเจรจาสันติภาพในครั้งถัดๆไป / ยูเครนยินยอมในการแบ่งผลประโยชน์แร่ Rare Earth โดยให้สหรฐเข้าทำสัมปทานแร่ในยูเครนได้ 50% / ตั้งทีมเจรจาทั้ง ฝ่ายรัสเซีย-ยูเครน เพือสันติภาพอันยั่งยืน)
- สหรัฐกลับมาส่งอาวุธช่วยเหลือยูเครน ตลอดจนแบ่งปันข่าวกรองให้ยูเครนเช่นเดิม เพื่อเป็นการตอบแทนในการร่างสัญญาหยุดยิง 30 วันให้กับรัสเซีย ทั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศโปแลนด์ยืนยัน อาวุธจากสหรัฐกลับมาทยอยส่งมองให้ยูเครน ในขณะทีทรัมป์กล่าวชืนชมผลการทำร่างสัญญาหยุดยิง และเปิดแขนพร้อมต้อนรับ เซเลนสกี้กลับมาธรรมเนียบขาว และยังขู่ใช้มาตราการทางการเงินกับรัสเซีย หากรัสเซียปฎิเสธ
H4/H1 โครงสร้างยังคงเป็นเทรนด์ขาขึ้น เคลื่อนที่ชนกรอบเทรนด์ไลน์ขาขึ้น แต่ภาพรวมยังคงเป็นการเคลื่อนที่ในกรอบไซด์เวย์ 1.28664 – 1.29458 เริ่มปรากฎสัญญาณการย่อตัว Berish Divergence H1 (Macd + RSI)
คำแนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 1.29497-1.31716 / SL 1.3500 เพือทำกำไรที่ 1.29307/1.29094/1.28906
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 1.28743-1.28989 / SL 1.28060 เพื่อทำกำไรที่ 1.28906/1.29094/1.29307/1.29908
แนวรับ 1.28735/1.28062/1.27722
แนวต้าน 1.29908/1.30153/1.30473

ปฏิทินเศรษฐกิจ 13 มี.ค. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- 12 มี.ค. คริสติน ลาการ์ด แถลง ในการประชุม The ECB and Its Watchers เตือนยูโรจะเผชิญการ Shock ทางการค้า , สภาพอากาศ ซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อผันผวน และการเติบโตราคาสินค้ามีอย่างต่อเนื่อง ย้ำเป้าหมายเงินเฟ้อ 2.0%
- 12 มี.ค. ประกาศตัวเลข CPI y/y ออกมากต่ำกว่าคาด ส่งผลดีต่อ USD เพียงแค่ชั่วคราว และมีการเทขาย USD ในเวลาถัดมา เนื่องจากภาพรวมนักลงทุนยังมีความไม่วางใจกับนโยบายการขึ้นภาษีรายวันของทรัมป์ ที่เป็นการเสียงต่อการเกิดสภาวะเศรษกิจถดถอย … มีการตั้งชื่อวิกฤต นี้ว่า Trump Cession
- ติดตาม ตัวเลข ดัชนีราคาสิ้นค้าฝั่งผู้ผลิต PPI ที่คาดการณ์ว่าปรับลดลงอันเนื่องจากต้นทุนพลังงาน-น้ำมันลดลง ซึ่งหากตัวเลขลดลงในทิศทางเดียวกับ CPI ก็ยังคงคาดการณ์ว่า FED จะไม่มีการปรับดอกเบี้ยลงในคราวนี้ แต่คาดว่าปีนี้น่าจะมีการปรับดอกเบี้ยลง 3 คร้้ง แต่หากตัวเลข PPI ออกมามากกว่าคาดการ (สวนทิศกับ CPI) ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ในเดือนหน้าจะมีผลสำคัญทันที เนืองจากราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแล้ว ราคาสินค้าฝั่งผู้บริโภคจะสูงตาม
Leave a Reply