กลยุทธ์การลงทุน GBPUSD ประจำวันที่11 เม.ย. 2568

Day โครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น ราคาดีดขึ้นตลอดทั้งวันปัจจัยมาจาการอ่อนค่าของ USD (DXY) ระดับ 99.69 ซึ่งถือว่าเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ ก.ค.ปีที่แล้ว ส่งผลให้ GBP ปิดแท่งรายวัน Bullish Marubozo การอ่อนค่าของ USD มาจากปัจจัย

สงครามทางการค้า สหรัฐ – จีน เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น สหรัฐเรียกเก็บภาษีจีนเพิ่ม 20% รวมเป็น 145%..

  • สหรัฐฯ ได้ประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 145%(125+20) ซึ่ง 20% หลังมาจากการประกาศเพิ่มคืนวานนี้ เนื่องจากจีนทำเป็นผู้เกี่ยวข้องและทำให้ เฟนทานิลเขามายังอเมริกา (ตามคำกล่าวอ้างของทรัมป์) ซึ่งเป็นการรวมภาษีหลายรายการที่มีผลบังคับใช้ก่อนหน้านี้ หลังจากที่จีนแข็งกร้าวไม่ยอมเจรจาต่อรองในวันที่ 9 เม.ย. พร้อมตอบโต้ จีนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ 84% มีผลบังคับใช้วานนี้ อีกทั้งยัง เพิ่มรายชื่อบัญชีควบคุมการส่งออกสินค้า บริษัทสหรัฐอีก 12 แห่ง พร้อมทั้งประนามการกระทำของทรัมป์ และยังประกาศ”สู้จนถึงที่สุด” อีกทั้งยังมีแผนที่จะลดการนำเข้าภาพยนตร์จากสหรัฐ (เกินดุลย์การค้ากับจีน)
  • จีนยังคงมาตราการควบคุมการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งกระทบ โครงการณ์ผลิต F35 ของสหรัฐ (มาตราการควบคุมการส่งออกของจีน จะกำหนด โควต้าการส่งออกในแต่ละปีไปสหรัฐ และเพิ่มข้อบังคับ ใบอนุญาติสำหรับการส่งออกแร่หายาก รวมทั้งจะเพิ่มภาษีการส่งออก (ค่าธรรมเนียมพิเศษ)ที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มต้นทุนการส่งออกไปยังสหรัฐ
  • ความกังวล สงครามการค้า จีน- สหรัฐ ปะทุครั้งใหม่ส่งผลต่ออุปสงค์น้้ำมัน (จีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก) คาดว่าจีนอาจจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อชดเชยผลกระทบจากภาษีของทรัมป์ ในขณะที่ตลาดกังวลผลกระทบเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากสินค้าหลายรายการในสหรัฐที่ผลิตและหาทดแทนไม่ได้

ทรัมป์ ประกาศชะลอเก็บภาษีแบบ ตอบโต้ (reciprocal tariff) ออกไป 90 วัน แต่ยังเรียกเก็บ 10% Baseline Tariff สำหรับทุกชาติ (เพิ่มเติมจากสินค้าบางประเภทที่เรียกเก็บไปแล้ว)

  • ภาษีแบบ ตอบโต้ (reciprocal tariff) กับ 90 ประเทศที่เกินดุลย์สหรัฐทรัมป์ ประกาศเลื่อนออกไป 90 วัน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆเข้ามาเจรจากับสหรัฐ แต่ยังคงเก็บ ภาษีพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด (10% Baseline Tariff) ทุกๆประเทศที่นำเข้าสินค้าสหรัฐ วันที่ 5 เม.ย.
  • ทรัมป์ระบุว่า มีประเทศ มากกว่า 75 ประเทศ ที่ติดต่อรอคิวเพื่อเจรจานำเสนอข้อเสนอดีๆให้กับสหรัฐ จึงจำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อน และเตือนประเทศ ที่ประเทศไหนคิดจะตอบโต้ ภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ความเป็นจริงสาเหตุของการผ่อนปรนนโยบาย เลื่อนภาษีตอบโต้ออกไป 90 วัน
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ จาเน็ต เยลเลน กล่าว ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ น่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในการยืดเวลา90 วันสำหรับภาษี Reciprocal Tariff หลังจากการที่สหรัฐกำลังเผชิญกับ การเทขายพันธบัตรรัฐบาล (มูลค่าพันธบัตร+ดอกเบี้ย)อย่างหนัก ซึ่งส่งผลทำให้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีและ 30 ปี พุ่งสูงถึง 4.5-5.0% การเทขายพันธบัตรออกมาในครั้งนี้มาจากการประกาศนโยบายทางภาษี วันที 3 เม.ย. (ประเทศที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากที่สุด ญี่ปุ่น จีน และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางภาษีทั้งสิ้น) ซึ่งเป็นสัญญาณ ในการเกิดภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง (Depression)
  • เยลเลน ยังวิจารณ์กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจของทรัมป์อย่างกว้างขวาง โดยเรียกว่าเป็น “การทําร้ายตัวเองที่เลวร้ายที่สุดโดยเศรษฐกิจที่ทํางานได้ดีในประวัติศาสตร์”เตือนว่าการตัดขาดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างสมบูรณ์จะเป็น “หายนะสําหรับทั้งสองประเทศ”
  • EU สั่งระงับ มาตราการตอบโต้ทางการค้าต่อสหรัฐ การเรียกเก็บภาษีสินค้าบางรายการ 25% จากเดิมที่เคยประกาศเริ่มวันที่ 15 เม.ย. เป็นเลื่อนไปอีก 90 วัน ตามเวลาที่สหรัฐผ่อนปรน
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูง EU วางแผนเยือนจีน เพื่อพบ สี จิ้นผิง ปลายเดือน ก.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการค้า
  • EU และ จีน ร่วมกันพิจารณา กำหนดราคาขึ้นต่ำของรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตที่จีน เพื่อแทนการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน
  • ในขณะที่ฝั่งอเมริกา Center for Automotive Research คาด มาตราการภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว ทำให้ต้นทุนผู้ผลิตรถยนต์ เพิ่มขึ้น 108,000 ล้าน ดอลลาร์ ภายในปี 2025 ซึ่งกระทบต่อ FORD / GM / Stellantis ซึ่งเฉลีย 1 คัน ต้นทุนเพิ่มเป็น 8,600 USD (จากเดิม 5000 USD)
  • FED เผย มาตรการระงับภาษีของทรัมป์ ไม่เปลีย่นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด เพียงแค่คลายความกัดดันชั่วคราว แต่ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยและเงินเฟ้อสูง เพราะยังคงเก็บ แคนาดา แม็กซิโก จีน อยู่ อีกทั้งหากการเจรจาของนานาชาติไม่บรรลุผล จะส่งผลต่อความเชื่อมันนักลงทุน เป็นการฉุดการเติบโตทางเศรษบกิจ ซึ่งถึงตอนนั้นต้องเลือกระหว่าง ควบคุมเงินเฟ้อ หรือกระตุ้นการจ้างงาน
  • การขนส่งของโลกเริ่มชะลอตัว ตัวเลขจำนวนเรือที่แล่นผ่านคลองปานามา ลดลง 33.7 ล่ำต่อวัน ในเดือนมี.ค. (เดิม 34.8 ลำต่อวัน)

10 เม.ย. ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐลดลง คาด Fed ปรับลดดอกเบี้ย

  • 10 เม.ย. ประกาศตัวเลข CPI y/y เงินเฟ้อฝั่งสหรัฐลดลงกว่าคาด 2.4% (ต่ำกว่าเดือนที่แล้ว 2.8% ในเดือน ก.พ.) ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสุดตั้งแต่เดือนมี.ค.2021 ขณะที่ Core CPI(ไม่รวมอาหารและพลังงาน) ลดลงเหลือ 0.1% คาด Fed จะปรับลดดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ Fed Watch Tool เพิ่มโอกาศปรับลดดอกเบี้ยในวันที่ 7 พ.ค. 0.25% เป็น 35.5% (เพิ่มขึ้นจากก่อนข่าวประกาศ 20.4%) แม้ว่าประธาน Fed แต่ละสาขา ยังคงยืนยันคงดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า ราคาน้ำมันปรับตัวลงทันทีที่เงินเฟ้อลดลง(เป็นไปตามวิเคราะห์)
  • นักลงทุนไม่วางใจ ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ วานนี้ แต่กังวลสงครามการค้า จีน-สหรัฐ ที่คาดว่าจะขยายเวลาออกไป Nasdaq – 4.19% /S&P -3.46%/Down Jone -8.61%
  • ขณะที่หุ้นยุโรป ปรับตัวติดบวกทุกตัว ดัชนี DAX + 1%, ดัชนี CAC 40 ฝรั่งเศส + 1% และดัชนี FTSE 100 อังกฤษ + 0.6% ดัชนี Stoxx 600 ทั่วยุโรปเพิ่มขึ้น 0.7%
  • ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ GDP อังกฤษเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนกุมภาพันธ์

ระวัง USD ดีดกลับ(กดดัน GBP) ในฐานะ Save Havenจับตา การประชุมหารือ สหรัฐ- อิหร่าน (ข้อตกลงยกเลิกผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน) วันเสาร์ 12 เม.ย. หวั่นสงครามเกิดหากไม่มีข้อยุดิ

  • วานนี้ สหรัฐประกาศเพิ่มการคว่ำบาตรเครือข่ายค้าน้ำมันอิหร่าน รวมถึงสถานีเก็บน้ำมันดิบในจีน ที่เชื่อมต่อกับโรงกลั่นอิสระผ่านท่อส่งน้ำมัน ก่อนการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่านในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยมาตรการคว่ำบาตรมีขึ้นหลังรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ แจ้งว่าสหรัฐฯ จะเจรจาโดยตรงกับอิหร่านในวันเสาร์นี้ ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยเตือนว่า อิหร่านจะเผชิญ “อันตรายร้ายแรง” หากการเจรจาล้มเหลว พร้อมกันนี้ สหรัฐฯ ยังคว่ำบาตรบริษัท กว่างซา โจวซาน เอ็นเนอร์จี้ กรุ๊ป ที่ดำเนินธุรกิจสถานีน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนเกาะหวงเจ๋อซาน มณฑลเจ้อเจียง โดยอ้างว่าสถานีแห่งนี้ รับน้ำมันจากอิหร่านผ่านท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลหวงเจ๋อซาน-ยวีซาน
  • ทรัมป์ ขู่ หากการประหารือวันพรุ่งนี้ไม่มีข้อยุติ สหรัฐจะให้อิสลาเอล เป็นผู้นำปฎิบัติการโจมตีทางทหารกับอิหร่าน ขณะที่อิหร่างออกชี้แจง หากชาติใดเปิดโจมตีมาก่อน อิหร่านก็จะปฎิบัติการให้อย่างสาสม
  • กองทัพอิหร่าน เตรียมความพร้อมภาวะเฝ้าระวังขั้นสุด แม้ว่าจะมีการเจรจากันในวันเสาร์ที่ 12 เม.ย. โดยเปิดระบบป้องกันภัยทางอากาศ นำเอาระบบสงครามอิเล็กทรอนิกค์เข้ามาใช้ทั่วอ่าวเปอร์เซียและช่องแคบฮอร์มุส เพื่อสกัดกั้นโตรนสอดแนมของสหรัฐ พร้อมส่งคำเตือนไป อิรัก คุเวต อาหรับ กาต้า ตุรกี และบาเรน หากสนับสนุนสหรัฐจะถือเป็นการกระทำของศัตรูของอิหร่านเช่นกัน ขณะที่สหรัฐ ยังคงเสริมทหาร 40,000 นาย เครื่องบินล่องหน B-2 จำนวน 7 ลำ เครื่องบินเติมน้ำมัน 8 ลำ ติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศ THAAD ติดตั้งในอิสราเอล และ โยก Patriot จากเกาหลีใต้(สหรัฐให้เกาหลีใต้ยืม) ไว้ในฐานทัพ Diego Garcia ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งห่างจากอิหร่าน 5,245 กม ซึ่งอยู่ในรัศมีของการปฎิบัติการ เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล
  • อีหร่านยืนยัน การเจรจาในวันพรุ่งนี้ 12 เม.ย. เป็นการเจรจาผ่านตัวกลาง(โอมาน) และจะแสดงให้เห็นว่าอิหร่าน ไม่ได้มีการพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์หรือคุกคามชาติใดๆ (อิหร่านเคยออกมาแถลงว่า สามารถ พัฒนาแร่ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ และเพิ่มความบริสุทธิแร่ยูเรเนียม…. ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อการผลิตอาวุธนิวเคลียร์)

H4/H1  สิ้นสุดโครงสร้างเทรนด์ขาขึ้นใน Time frame H4 และการจะกลับขึ้นมาเป็นเทรนด์ขาขึั้นในระยะสั้นได้อีกครั้ง ต้องสามารถปิดแท่งเขียวเหนือ1.31994 ณ ปัจจุบันราคาวิ่งเข้าสู QM Zone ที่กรอบราคา 1.31475-1.30176 และอยู่ใน Zone Overbough (ทั้ง H1-H4)

คำแนะนำ

  • เปิดสถานะซื้อที่ 1.29375 -1.29806 / SL 1.291000 เพื่อทำกำไรที่ 1.30010/1.30157/1.30352/1.30548/1.30790
  • ระวังสถานะการณ์ที่จะเกิดจากการหารือ สหรัฐ-อิหร่าน ที่จะมีขึ้นวันพรุ่งนี้ ซึ่ง USD จะได้เปรียบ ในฐานะ Save Haven และจะกดดัน GBP แนะนำให้ควบคุมความเสี่ยงทุกๆคำสั่งซื้อ-ขาย และไม่ควรถือสถานะข้ามอาทิตย์

แนวรับ 1.29362/1.28891/1.28563

แนวต้าน 1.29163/1.30526/1.31994

ปฎิทินเศรษฐกิจ 11 เม.ย. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • ติดตามตัวเลข PPI m/m ซึ่งเป็นตัวเลข เงินเฟ้อจากฝั่งผู้ผลิต
    – PPI m/m < 0.0% (เดือนที่แล้ว) แสดงให้เห็นถึงเงินเฟ้อทีลดลง แต่อีกนัยยะหนึ่งคือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว ปัจจัยบวกต่อ GBP
    – PPI m/m > 0.2% (คาดการณ์) เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น (ภาคผลิตจะเห็นก่อนภาคบริโภค) ส่งผลให้ Fed อาจตัดสินใจชะลอการลดดอกเบี้ย => USD แข็งค่าขึ้น กดดดัน GBP
  • ติดตามประกาศ US Prelim UoM Consumer Sentiment ความเชื่อมันผู้บริโภค ที่มีผลต่อการใช้จ่าย (อุปสงคื)
    – หากความเชื่อมัน > 57 แสดงถึงความมั่นใจเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายมากขึ้น GBP อาจปรับตัวลดลง
    – หากความเชื่อมัน < 57 แสดงถึงความมั่นใจเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายน้อยลง GBP อาจปรับตัวสูงขึ้น
  • ติดตามประกาศตัวเลข Prelim UoM Inflation  Expectationsความคาดหวังเงินเฟ้อจากฝั่งประชาชน
    – หากคาดหวัง > 5.0% ผู้บริโภคเชื่อว่าราคาสินค้าจะแพงขึ้น Fed อาจต้องคงดอกเบี้ย => USD แข็งค่า กดดัน GBP
    – หาดคาดหวัง < 5.0% ผู้บริโภคเชื่อว่าราคาสินค้าจะถูกลงขึ้น Fed อาจต้องคงดอกเบี้ย => USD อ่อนค่า เป็นบวกต่อ GBP
    – แต่หากตัวเลขออกมา มากกว่า 5.0 แบบมากมาย จะส่งผลให้ USD ปรับตัวต่อ GBP ปรับตัวสูงขึ้น

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *