Day ยังคงเป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคาดีดตัวขึ้นจากกรอบสามเหลี่ยม ซึ่งได้อานิสง ปัจจัยอ่อนค่าจาก USD วานนี้ราคาพุ่งขึ้นต่อเนื่อง ก่อนจะมีแรงเทขาทางเทคนิคลงมา ปิดแท่งเทียน Bullish with long Shadow ปัจจัยสำคัญมาจาก
สึนามิภาษี ถล่ม 185 ประเทศแรงสุดในรอบ 100 ปี .. ปัจจัยกดดัน USD ปัจจัยบวกต่อ GBP
- การเรียกเก็บภาษี จากมาตราการตอบโต้ประเทศที่สหรัฐเสียดุล “วันปลดปล่อยอเมริกา”
– ภาษีแบบ ตอบโต้ (reciprocal tariff) โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราส่วนที่สหรัฐขาดดุลย์ กับประเทศเหล่านั้นในช่วงปีที่ผ่านมา (กัมพูชา 49%/ ลาว 48% / เวียดนาม 46% / พม่า 44% / ไทย 37% / จีน 34%/ไต้หวัน 32%…… อังกฤษ 10%…..)
– ภาษีพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด (10% Baseline Tariff) ครอบคลุมสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโก (ที่เรียกเก็บภาษีไปก่อนหน้านี้ 25%) ,มีผลบังคับใช้ 5 เม.ย. - นอกจากนี้ยังมีไม่รวม ภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% ซึ่งมีผลบังคับใช้ 2 เม.ย. ในขณะที่ ภาษีนำเข้าอะไหล่รถยนต์จะตามมาภายหลัง / ภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม จากทั่วโลก 25% มีผลบังคับใช้ 12 มีค ก่อนหน้านี้
- โดนัล ทรัมป์ ยังประกาศปิดช่องโหว่ จากพัสดุนำเข้าสหรัฐ (De Minimis Threshold เกณฑ์ปลอดภาษีขึ้นต่ำ สินค้าพัสดุมูลค่าน้อยกว่า 800$ เดิมไม่ต้องเสียภาษี) 2 พ.ค.เสียภาษี 25 USD – 30%/ชิ้น และปรับภาษีเป็น 50 USD/ชิ้น วันที่ 1 มิ.ย.
- ดัชนีดาวน์โจน์ ปิด – 3.98% / S&P – 4.85% / Nasdaq -5.99% ซึ่งถือเป็นความสูญเสียเทียบเคียง ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ส่งผลให้ทั้งตลาดหุ้นในเอเซียและยุโรป ปิดติดลบเช่นกัน
- นักลงทุนคาดการณ์ Fed ปรับลดดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ หลังการขึ้นภาษีของทรัมป์ กระตุ้นความเป็นไปได้ของสงครามการค้าครั้งใหญ่ และการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อรอบใหม่ คาดน่าจะถึง 4% ในสิ้นปีนี้
- ทรัมป์ ชี้ให้เห็นถึงรายได้ 700 พีนล้านดอลล่าร์ต่อปีที่สร้างขึ้น หากดุลการค้าไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ตลาดหุ้นทั้งในอเมริกาและทั่วโลก ร่วงลงหนัก
- ฝรั่งเศสตอบโต้นโยบายภาษีทรัม ประกาศเรียกร้องให้บริษัทและกลุ่มการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระงับการลงทุนในสหรัส ซึ่งรวมไปถึงหลายๆชาติ ขู่จะยกระดับสงครามการค้า Stellantis (ผู้ผลิตรถยนต์เนเธอแลนด์) ประกาศเลิกการจ้างงานในสำหรับชั่วคราว และปิดโรงงานในแคนาดา-แม็กซิโก และคาดการณ์ จีนจะมีมาตราการตอบโต้ภาษีที่รุนแรงกลับออกมาก หลังจาก Fitch Ratings ปรับลดความน่าเชือถือของจีนจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น (จาก A+ เป็น A) จากนโยบายปรับภาษีของทรัมป์
- แคนาดาประกาศตอบโต้นโยบายภาษีทรัมป์ทันที โดยประกาศจะเก็บภาษีรถยนต์ 25% สำหรับรถยนต์ทุกคันที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(NAFTA) (ข้อตกลงของ USA & Canada & Mexico ในปี 1994 ว่าด้วยการยกเลิกภาษีระหว่าง 3 ประเทศ,สนับสนุนการค้าเสรีและลงทุน) แต่ขณะที่ญี่ปุ่นจะขอเข้าเจรจาเพื่อปรับลดภาษี แต่ขณะที่เกาหลีใต้ประกาศช่วยเหลือฉุกเฉินภาคอุตสหากรรมในประเทศที่ได้รับผลกระทบ
- JP Morgan (สถาบันการเงินของโลก) และ IMF ประกาศเพิ่มความเสียงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย เป็น 60% (จากเดิม 40%) เนื่องจากความผิดปกติของห่วงโซ่อุปทาน และขาดความเชื่อมันในตลาด
- จากนโยบายภาษีทรัมป์ ส่งผลให้หลายชาติต้องปรับ GPD ที่ลดลง :- ไทยคาด GDP ปรับลด 1% อินเดียคาด GDP ปรับลด 0.5% ช่องว่างระหว่างภาษีส่งออกไปสหรํฐกับนำเข้าอินเดีย อาจส่งผลให้การตัดสินใจลงทุนล่าช้า การเติบโตช้า ซึ่งอาจส่งผลต่อสกุลเงิน และกระตุ้นให้เกิดการถอนตัวจากตลาดหุ้น ทั้งนี้ IMF ประกาศจะปรับค่าคาดการณ์ GDP โลกใหม่ ปลายเดือนเม.ย. คาดว่าเอเซียจะได้รับผลกระทบหนักสุด
สถานะการณความตึงเครียด ในตะวันออกกลาง ปัจจัยบวกต่อ USD (สินทรัพย์ปลอดภัย) กดดัน GBP
- เฝ้าระวังสถานการณ์ อิหร่าน – สหรัฐส่งกำลังทางอากาศครั้งใหญ่ทีสุดนับตั้งแต่ปัญหาในตะวันออกกลาง เครื่องบินขนส่ง C17 มากกว่า 16 ลำ บรรทุกระบบป้องกันภัยทางอากาศขั้นสูง (ขีปนาวุธ + Patriot (ใช้สำหรับสกัดกั้นและทำลายขีปนาวุธที่เข้ามาโจมตี รวมถึงเครื่องบินข้าศึก) จากที่มีการส่ง B-2 Spirit จำนวน 6 ลำ เข้าประจำฐาน Diego Garcia 2 วันก่อนหน้าไปแล้ว หลังจากที่ทรัมป์ขู่จะถลุ่มเมืองเตหะราน กรุงอิหร่านให้ราบ หาก อิหร่านไม่ตกลงขึ้นโต๊ะเจรจาว่าด้วยเรื่อง การหยุดพัฒนานิวเคลียร์ ซึ่งอิหร่านตอบปฎิเสธการเข้าร่วมคุยโดยตรงกับสหรัฐโดยทันที พร้อมยังเคลื่อนพลกำลังและอาวุธยุทธโธปกรณ์
H4/H1 โครงสร้างราคาเป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคาสามารถเบรคออกจากกรอบสามเหลี่ยม Triangle ดีดขึ้น ชนกรอบเทรนด์ไลน์ขาขึ้น ประกอบกับ อยู่ในโซน Overbouth ราคาปรับตัวร่วงลงทันที
คำแนะนำ
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 1.30510-1.30004/SL 1.29500 เพื่อทำกำไร ที่ 1.31050/1.31295/1.31721/1.32095
แนวรับ 1.30022/1.29400/1.28906
แนวต้าน 1.32404/1.33129/1.34416

ปฎิทินเศรษฐกิจ 4 เม.ย.2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- ติดตามประกาสตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm) ควบคู่ไปกับ Average Hourly Earnings m/m รายได้เฉลียต่อชั่วโมง
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง = 0.3 , NON Farm > 151 K จะส่งผลดีต่อ USD กดดัน GBP
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง = 0.3 , NON Farm < 137 K จะกดดัน USD บวกต่อ GBP
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง > 0.3 , NON Farm > 151 K รายได้สูง การจ้างงานสูง จะส่งผลดีต่อ USD แต่กดดัน GBP (Fed คาดเงินเฟ้อมีโอกาสสูง ยังไม่รีบปรับลดดอกเบี้ย)
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง > 0.3 , NON Farm < 137 K รายได้สูง การจ้างงานน้อย USD & GBP จะมีความผันผวนทิศทางแข็งค่าเล็กน้อย (Fed คาดเงินเฟ้อมีโอกาศสูง เศรษฐกิจชะลอตัว มีโอกาสที่ปรับลดดอกเบี้ย)
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง < 0.3 , NON Farm > 151 K ผลตอบแทนน้อย การจ้างงานสูง USD แกว่งตัวเล็กน้อยในกรอบหรืออาจแข็งค่าขึ้น ขณะที่ GBP แกว่งตัวในลักษณะอ่อนค่าลง (Fed เศรษฐกิจขยายตัว ไม่รีบลดดอกเบี้ย)
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง < 0.3 , NON Farm < 137 K ผลตอบแทนน้อย การจ้างงาน้อย กดดัน USD แต่เป็นปัจจัยบวกต่อ GBP (Fed คาด เศรษฐกิจชะลอตัว มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ย) - ทั้งนี้หากประกาศตัวเลขอยู๋ในลักษณะผันผวน หรือแกว่งเล็กน้อย ตลาดจะให้ความสำคัญในถ้อยแถลงของ Fed ที่จะมีขึ้นเวลา 10.25 ซึ่งจะมีผลต่อ USD และสินทรัพย์ทันที หาก Fed มีนโยบายในการปรับลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์
Leave a Reply