Day โครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น วานนี้ราคาน้ำมันยังคงเคลื่อนตัวออกข้างในกรอบแคบๆ เพียง 13xx จุด ติดต่อกัน 6 วัน หลังจากที่ราคาปรับตัวร่วงลงมาสูแนวรับ Support H4 กรอบ 65.171-66.503 เดิมที่ให้ไว้ ปิดแท่ง Bullish Pin Bar
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดตลาดที่ 67.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงขึ้น 0.6%
ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเล็กน้อยวานนี้ เนื่องจากมีสัญญาณบวกของอุปสงค์(ความต้องการน้ำมัน) ซึ่งคาดว่า ซาอุฯ จะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันดิบ สำหรับลูกค้า เอเซีย ในเดือน ส.ค. ทั้งนี้เป็นการตัดสินใจก่อนจะมีการประชุม OPEC+ ที่จะพิจารณษนโยบายเพิ่มการผลิตหรือไม่
ซาอุดิอาระเบีย อาจปรับขึ้นราคาน้ำมันดิบ ส่งมอบเดือน ส.ค. … ปัจจัยบวกต่อน้ำมัน
- ราคาน้ำมัน Arab Light สำหรับเอเชียอาจเพิ่มขึ้น 50–80 เซนต์ต่อบาร์เรล จากเดือนกรกฎาคม โดยอ้างว่ามีปัจจัยหนุนจากราคาสปอตที่ปรับขึ้นเนื่องจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางและความต้องการช่วงฤดูร้อน
OPEC+ เตรียมประกาศเพิ่มกำลังการผลิตในเดือนส.ค. ในการประชุม วันที่ 6 ก.ค. … กดดัน ราคาน้ำมัน
- OPEC+ ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้งในปริมาณที่ 411,000 บาร์เรลต่อวัน หากอนุมัติ ปริมาณการผลิต รวม เท่ากับ 1.78 ล้านบาร์ต่อวัน (1.5% ของอุปสงค์ความต้องการน้ำมันทั่วโลก)
- วัตถุประสงค์ กลับมาครองส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากขึ้น
- เนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีบางประเทศผลิตเกณฑ์โควต้าของประเภท ภายหลัง OPEC+ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตให้กับประเทศสมาชิกที่เคารพกฎ การผลิตให้เท่ากับประเทศที่ผลิตเกินกำหนด ซึ่งบางประเทศอาจต้องใช้เวลาที่นานขึ้น เพื่อจะผลิตให้เข้าตามมาตราฐานเดิมกำหนด
พาวเวล สวนกลับยังไม่รีบลดดอกเบี้ย หากตัวเลขเศรษฐกิจไม่ชัดเจน …. ปัจจัยบวก USD ปัจจัยกดดัน ราคาน้ำมัน
- ทรัมป์เดินหน้ากดดัน เจอโรม พาวเวล์ ให้รีบลดดอกเบี้ย โดยกล่าวว่าเขามีตัวเลือกอันดับต้น 2-3 คน ที่จะมาแทนที่เจอโรม พาวเวลล์ (เควิน วอร์ช อดีตผู้ว่าการเฟด / เควิน แฮสเซตต์ ผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ / กอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลัง)
- เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า “Fed น่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินไปแล้ว หากไม่มีแผนภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” ทั้งนี้จำเป็นต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจ จากผลกระทบจากนโยบายภาษีทรัมป์ก่อน ยันไม่รีบร้อน
- สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ภายในเดือนก.ย.
การเจรจาการค้า สรัฐ – นานาประเทศ ก่อนเส้นตาย 9 ก.ค.
- ทรัมป์ ย้ำ “เส้นตาย 9 ก.ค. นี้ สำหรับประเทศไม่บรรลุข้อตกลงได้ โดยจะมีการปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% และสำหรับประเทศที่เลือกจะไม่เจรจาการค้ากับสหรัฐ จะด้องโดนภาษี ฝ่ายเดียว ที่สหรัฐจะเป็นผู้เรียกเก็บ ตามวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งรวมไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย
- สหรัฐ- ญี่ปุน : •การเจรจาการค้า ไม่คืบหน้า ญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญ ภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จากสหรัฐ 25% ภาษีเหล็กอะลูมิเนียม 50% ในขณะที่ญี่ปุ่น “ไม่ยอมรับการนำเข้าจากสหรัฐ” ทั้งนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนข้าวอย่างหนัก จากปัญญา เกษตรกรวัยชรา และ มวลอากาศร้อน จากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์
- ในขณะที่อาจจะมี การเลือนกำหนดเส้นตาย ออกไปสำหรับประเทศคู่ค้าหลักที่กำลังเจรจาการค้าในขณะนี้
– สหรัฐ – แคนาดา : เลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 21 ก.ค. นายกรัฐมนตรี แคนาดา มาร์ คาร์นีย์ ตัดสินใจยกเลิกการเก็บภาษีบริการดิจิทัล ( Digital Service Tax )3% กับบริษัทเทคโนโลยี สหรัฐ ในวันจันทร์ทีผ่านมา ทั้ง Meta Amazon Google Uber (เป็นเวลา 5 ปี) เพื่อหวังกลับมาเจรจาช้อตกลงการค้าฉบับใหม่
– สหรัฐ – สหภาพยุโรป : •การเจรจายังคงไม่มีความคืบหน้าชัดเจน สหรัฐต้องการให้ ยุโรป ผ่อนคลาย กฎระเบียบเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียและบริษัทเทคโนโลยี ในขณะที่ยูโรยังคงปฎิเสธ เพราะเชื่อ “การปกป้องสิทธิพลเมือง เป็นเรื่องจำเป็นต่อประชาธิปไตย” ทั้งนี้ EC ดำเนินคดี กับบริษัท
* Meta(Facebook) ของสหรัฐ ข้อหา “ละเมิดการต่อต้านการผูกขาด ตลาด ดิจิทัล”
* Nvidia ของสหรัฐ ฝรั่งเศส ตั้งข้อหา “ ดำเนินการต่อต้านการแข็งขัน “การค้าแบบเสรี” ด้วยการใช้ AI อย่างไม่เป็นธรรม
– สหรัฐ – อินเดีย : ยังคงติดปัญหาเพียงแค่เรือง ฝ่าย ยังไม่สามารถบรรลุได้ สหรัฐฯ ที่ต้องการให้อินเดียเปิดตลาดพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งอินเดียปฏิเสธ โดยอ้างถึงความเสี่ยงต่อเกษตรกร ในขณะเดียวกัน อินเดียไม่เต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลงที่ไม่ครอบคลุมภาคส่วนเกษตรกรรม ซีง่ยืนยันเว่าเป็น “เส้นแดง”ของตน ที่จะไม่ถูกข้าม
– สหรัฐ – จีน : จีนต้องการให้การเจรจาการค้า ระหว่าง สหรัฐ – จีน เกิดขึ้นโดยมี WTO เป็นแพลตฟอร์มตัวกลาง เรียกร้องให้นานาชาติเจรจากับสหรัฐแบบ “พหุภาคี” (มีตัวกลาง) ในขณะที่ สก็อตต์ เบสเซนต์ รมต คลัง สหรัฐ ระบุว่า หลังจากการเจรจาการค้า สหรัฐ-จีน ในเดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน แร่หายากจากจีน ยังคงไม่กลับมาสู่ระดับปกกติ ก่อน 4 เม.ย. “หวังว่าจีน จะปฎิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้”
ทรัมป์ประกาศยกเลิก การคว่ำบาตรซีเรีย … ปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน เล็กน้อย
- 1 ก.ค. สหรัฐฯ ยกเลิกการจำกัดนำเข้าน้ำมันจากซีเรีย ก่อนหน้านี้ ซีเรียเคยส่งออกน้ำมันประมาณ 380–400 พันบาร์เรลต่อวัน ก่อนสงคราม แต่ตอนนี้ผลิตเหลือเพียงราว 90 พันบาร์เรลต่อวัน(ปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับตลาดโลก)
- มาตราการคว่ำบาตรซีเรีย ตั้งแต่ปี 2011 จากการที่่ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามกลางเมือง นอกจากนี้มีการใช้อาวุธเคมี โจมตีพลเรือน /8 ธ.ค. 24 ถูกโค่นอำนาจ กลายเป็นผู็พลัดถื่นในรัสเซีย ส่งผลให้ ทรัมป์ประกาศยกเลิกคว่ำบาตร เพื่อลดบดบาท รัสเซีย จีน และอิหร่าน ในตะวันออกกลาง
- ทรัมป์ ประกาศ “อิสลาเองตกลงทำตามเงื่อนไข ข้อตกลงหยุดยิง 60 วันในฉนวนกาซ่า และหวังว่า ฮามาสจะรับข้อตกลงนี้เช่นกัน”
H4 /H1 : สิ้นสุดโครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น ราคาน้ำมันร่วงลงต่ำกว่าจุด Choh H4 ที่ 68.000 ราคาน้้ำมันยังคงเคลื่อนตัวออกข้าง ติดต่อกัน 6 วันที่กรอบ ราคาวิ่งชนแนวรับที่กรอบ 65.270-65.911 เน้นการทำกำไรในกรอบแคบช่วงรอปัจจัยใหม่ในตลาด
- เปิดสถานนขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 65.482 -65.916/ SL66.300 เพื่อทำกำไรระยะสั้น 65.000/64.900/64.700/64.500
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ )ที่กรอบ 64.070-62.437/ SL 62.000 เพื่อทำกำไรระยะสั้น 66.906/67.231/67.7405
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย)ที่กรอบ 67.405-68.697/ SL 69.000 เพื่อทำกำไรที่ 69.846/65.869/64.810/63.010
แนวรับ 62.437/60.473/59.626
แนวต้าน 68.622/70.231/72.158

ปฎิทินเศรษฐกิจ 2 ก.ค. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- API รายงาน Crude oil (ดิบ) เพิ่มขึ้น 680,000 บาร์เรล (ผิดคาด) กดดันราคาน้ำมันระยะสั้น
– Gasoline (น้ำมันเบนซิน) เพิ่มขึ้น 1.92 ล้านบาร์เรล /Distillates (ดีเซล/น้ำมันทำความร้อน) ลดลง 3.45 ล้านบาร์เรล … ปัจจัยผสมความต้องการน้ำมันแต่ละชนิด - ติดตามประกาศตัวเลขน้ำมันคงคลัง ประกาศโดย EIA หากผลออกมาใกล้เคียง API (ปริมาณน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น) จะเป็นปัจจัยกดดันราคาน้้ำมันเช่นกัน
Leave a Reply