กลยุทธ์การลงทุน Crude Oil (WTI) ประจำวันที่ 18 ก.พ.2568

Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาลง วานนี้ราคาดีดตัวขึ้นหลังลงมาทดสอบ Demand Week ที่กรอบ 68.412 -70.653 ประกอบด้วยการซื้อทางเทคนิค (สัญญาณ Hidden Bullish) ปิดตลาด ด้วยแท่ง Bullish (ตามคาด) ทั้งนี้ยังคงมีปัจจัย ที่อาจทำให้ราคาน้ำมันทรงตัว ในลักษณะ Sideway Down.

  • สถานะการการสู้รบ รัสเซีย – ยูเครน ยังคงมีขึ้นรายวัน วานนี้ โดรนยูเครนโจมตี สถานีสูบจ่ายน้ำมันรัสเซีย ซึง่ส่งผลต่ออุปทานน้ำมันจากคาซัคสถาน
  • OPEC+ กำลังพิจารณาการชะลอแผนการผลิต เนื่องจากกังวลเรื่องอุปทานล้นตลาด หลังจากสหรัฐมีการเร่งกำลังการผลิตน้ำมัน เพื่อทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวถูกลง
  • นักวิเคราะห์คาด หากสถานะการรัสเซีย – ยูเครน สงบลง จะเจอปัญหา การกลับมาส่งออกน้ำมันจากฝั่งรัสเซียได้ ซึ่งจะทำให้อุปทานเหลือล้นตลาด และราคาจะปรับตัวลดลง

H4 /H1โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาลง วานนี้หลังมีแรงเทขายออกมาหลังจากพยายามขึ้นไปทดสอบ Supply H4 ปรับตัวร่วงลงมาที่จุด Demand Week เดิม (ตามคาด) เริ่มปรากฏ Pattern double Bottom / Bullish Divergence H1 + ได้ปัจจัยเสริมในเรื่องการอ่อนค่า USD ราคาปรับตัวขึ้น(ตามคาด) วันนี้ให้ระวังการ Rebound ของ USD เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณซื้อ ซึ่งอาจจะกดราคาน้ำมันร่วงลงได้

แนะน

  • เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 71.905 -72.485 / SL 72.600 เพื่อทำกำไรที่ 71.600/71.500/71.300
  • เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบราคา 71.118 – 70.703 / SL 69.000 เพื่อทำกำไรที่ 71.200/71.500/71.600

แนวรับ 70.722/70.114/69.673

แนวต้าน 71.873/72.474/73.448

ปฎิทินข่าว 18 ก.พ.2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • นาย คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวสุนทรพจน์เช้าวันนี้
  • Fed อาจลดดอกเบี้ยในปี 2025 หากเงินเฟ้อ ลดลงต่อเนื่องและเข้าใกล้ 2.0% …. CPI y/y ลดลง หรือเข้าใกล้ 2.0 จะลดดอกเบี้ย (ส่งผลลบต่อ USD)
  • Fed จะไม่รีบลดดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจ ไม่ดีขึ้น (ส่งผลบวกต่อ USD)
  • การลดดอกเบี้ยเร็วไป อาจมีความเสี่ยง และนโยบายทรัมป์จะส่งผลต่อเงินเฟ้อ ที่ต้องติดตามเดือนต่อเดือน
  • ติดตามประกาศตัวเลข Empire State Manufacturing Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดสภาวะเศรษฐกิจภาคการผลิต (รัฐนิวยอร์ก) ซึ่งมักใช้ประกอบกับ PMI ที่จะประกาศออกมาในวันศุกร์ 21 ก.พ.
  • ซึ่งหากตัวเลข > 0 แสดงว่าเศรษฐกิจขยายตัว … ส่งผลดีต่อ USD (กดดันฝั่งตรงข้าม) , หากตัวเลข <0 แสดงว่าเศรษฐกิจหดตัว ส่งผลลบต่อ USD (ปัจจัยบวกตรงข้าม)
  • *** ภาคการผลิตนิวยอร์ก เป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ สหรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี , เครื่องจักรอุตสาหกรรม , ยานยนต์ ,เคมี และเภสัชภัณฑ์ ตลอดจน อาหารและเครื่องดี่ม


by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *