Day โครงสร้างยังคงเป็นเทรนด์ขาลง ราคายังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ กลับขึ้นมาทดสอบบริเวณแนวต้าน Supply H4 (66.419-67.090) ปิดจบแท่ง Bullish ปัจจัยการฟื้นตัวมาจาก
- ประกาศตัวเลขปริมาณน้ำมันคงคลัง พบว่าลดลงกว่าคาดการณ์และสัปดาห์ที่แล้ว (Crude Oil ปริมาณเพิ่มขึ้นเพียง 1.4 M จากคาดการณ์ 2.1M / น้ำมันกลั่น ลดลง 1.6 M จากคาดการณ์ลดลง 0.1M/ แก๊สโซลีน ลดลง 5.7 M จากคาดการณ์ลดลง 1.5 M) ….. ปริมาณการใช้น้ำมันมัน-กลั่น-ก๊าซ มากกว่าสัปดาห์ก่อน 1- 4 เท่า แสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ความต้องการน้ำมันใน USA ยังคงมีมากอยู่
- การอ่อนค่าของ USD (DXY) ลงมาอยู่ในระดับ 103.191 (ซึ่งอยู่ในแนวรับระดับต่ำในรอบ 4 เดือน) เกี่ยวกับความกังวลในมาตรการขึ้นภาษีของโดนัล ทรัมป์ หลังจากที่คืนวานประกาศ จะเพิ่มความรุนแรงด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม หากยุโรปจะดำเนินการตอบโต้การขึ้นภาษีสินค้าบางอย่างจากสหรัฐเดือนหน้า “ไม่ว่าจะเรียกเก็บภาษีเท่าไหร่ สหรัฐก็จะเรียกเก็บภาษีเท่านั้น ในเดือนหน้า” ทรัมปกล่าวไม่กี่ชั่วโมง หลังจากประกาศเก็บภาษี 25% เหล็กและอลูมิเนียม โดยทันที … เพิ่มความกังวลให้นักลงทุนมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัว และผลกระทบทางเศรษฐกิจโลก
- รอยเตอร์ส(อิปซอส) รายงานระบุว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังดำเนินนโยบายที่ “ไม่แน่นอน” มากเกินไป ในการพยายามปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่การขึ้นภาษีต่อคู่ค้าหลักของประเทศได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น โดยประมาณ 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่านโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มีความมั่นคง เนื่องจากความพยายามในการขึ้นภาษีนำเข้าได้จุดชนวนสงครามการค้าไปทั่วโลก
- WTI Future ส่งมอบเดือนเม.ย. ปิดที่ 67.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.43 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.2%
- US CPI mm ปรับตัวลดลง 0.2 ในขณะ US CPI y/y (เงินเฟ้อ) ปรับตัวลง 2.8% จากเดือนที่แล้ว 3.0% ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญมากจาการอ่อนตัวของราคาน้ำมัน แต่ยังไม่สะท้อนผลกระทบจากมาตราการภาษีของทรัมป์ อย่างเต็มที่ ตัวเลขทดังกล่าว เป็นปัจจัยที่ทำให้ FED อาจคงดอกเบี้ยไว้ในวันที่ 18 มี.ค. (ประชุม FOMC) และยังคงเฝ้าจับตาผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Fed Watch Tool คาดคงดอกเบี้ย 97% เหมือนเดิม)
- ผู้ผลิตสินค้า อุปกรณ์กีฬา- รถยนต์หรู, เคมีภัณฑ์ ในสหรัฐ มีความกังวล เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง , Puma ประกาศแนวโน้มยอดขายอ่อนแอ จากความต้องการในสหรัฐ-จีน ที่ลดลง ขณะที่ Porsche ประกาศเตือนอาจปรับขึ้นราคารถยนต์
- JP Morgan คาดว่ามีความเป็นไปได้ถึง 40% ที่สหรัฐจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2025 นี้
- กระทรวงการคลังสหรัฐ เผย คาดว่าขาดดุลงบประมาณ ในช่วง 5 เดือนแรก 1.147 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 4% หลังจากการเข้าดำรงตำแหน่ง โดนัลด์ ทรัมป์ ในเดือน มค / ขณะที่คาดการณ์ GDP ไตรมาสแรก 2025 : Goldman Sachs ปรับคาดการณ์ เหลือ1.7% , นักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์เติบโต 1.5 % (เฝ้าระวังสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอย) ในขณะที่ทำเนียบขาวขาดคาดการณ์ 2.0-2.5% ในไตรมาสแรก
- จับตาสถานะการณ์ การสู้รบในตะวันออกลาง ซึ่งจะส่งผลตรงต่อราคาน้ำมัน
- – ฮูติ (กลุ่มติดอาวุธชีอะห์ที่มีอิทธิพลในประเทศเยเมน) ประกาศโจมตีเรือสินค้าอิสลาเอล ในขณะที่เลยเส้นตายวันที่ 7 มีค จากการที่อิสลาเอลปิดกั้นฉนวนกาซ่าไม่ให้ได้รับการช่วยเหลือด้านมนุษย์ชน (ตัดน้ำ ,ตัดไฟ,ห้ามเข้า-ออก)
- – อิหร่าน ปฎิเสธไม่เจรจากับสหรัฐ ในเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์ หลังจากที่ทรัมป์แถลงว่า ศุกร์ที่ผ่านมามีการเขียนจดหมายส่งไปอีหร่านเพื่อนัดเจรจารอบใหม่ โดยให้ระบุให้อิหร่านเลือก ระหว่าง จะเป็นการเจรจาทางทหาร หรือ ทางการฑูต ในขณะที่ Khamenei ผู้นำสูงสุดของอิหร่านย้ำยังไม่เคยได้รับจดหมายใดๆ และจะไม่เจรจากับอันธพาล ผู้ซึ่งเจรจาเพื่อความคาดหวังในเรื่องอื่นๆ (อิหร่าน มีนโยบาย การใช้ พัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติ และไม่ได้เป็นสมาชิก NPT (Non Proliferation Treaty มีสมาชิก 9 ประเทศมหาอำนาจ) ซึ่งการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ของอิหร่าน สามารถสร้างได้ภายใน 24 ชั่วโมง (ตามคำกล่าวอ้าง Khamenei)
ปัจจัยกดดันราคาน้ำมันยังคงเหมือนเดิม
- OPEC+ ยืนยันจะเพิ่มกำลังการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไปในเดือนเม.ย. ทีคาดว่าจะเพิ่มอุปทานน้ำมันล้นตลาด จนถึงปี 2026
H4 / H1 โครงสร้างยังคงเป็นเทรนด์ขาลง แม้ราคาจะทรงตัวได้ แต่ยังคงเป็นการทรงตัวในกรอบแคบที่ 65.063 -66.896 ที่อยู่ระหว่าง Support week และ Supply H4 ปรากฎ Hamonic Butterfly PTTN ประกอบกับ Bearish Divergence Macd
แนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 68.212-67.254 / SL 69.000 เพื่อทำกำไรที่ 66.702/66.500/66.348.
แนวรับ 65.875/64.790/63.975
แนวต้าน67.904/69.673/70.180

ปฏิทินเศรษฐกิจ 13 มี.ค. 2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- ประกาศตัวเลข CPI y/y ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันมาก เนื่องจากความคาดหวัง FED ยังอัตราดอกเบี้ย และแม้ USD จะแข็งค่าขึ้นชั่วขณะ แต่ก็ยังคงมีการเทขายออกมาเป็นระลอก เนื่องจากนักลงคงไม่มั่นใจในภาคการลงทุน จากนโยบายภาษีรายวันของ ทรัมป์
- ติดตาม Oil Report จากประมาณการใช้น้ำวานนี้ สะท้อนให้เห็นถึงยังคงมีอุปสงค์ในตลาด USA เอง ซึ่งหากมีความต้องการอย่างต่อเนื่องจึงจะส่งผลบวกต่อราคาน้ำมัน
- ติดตาม ตัวเลข ดัชนีราคาสิ้นค้าฝั่งผู้ผลิต ที่คาดการณ์ว่าปรับลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจาก น้ำมันและพลังงานที่ราคาปรับล่ว่งลงก่อนหน้ามาแล้ว ตัวเลขดังกล่าวอาจไม่ส่งผลต่อราคาน้ำมันมาก แต่หากค่าประกาศ มากกว่า กว่าคาดการณ์ > 0.5% จึงจะทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น เนื่องจากนักลงทุนประหลาดใจ คาดราคาสินค้าแพงขึ้นในขณะที่ราคาน้ำมันลดลง
Leave a Reply