Week โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาลง ปิดจบแท่ง Bearish Marubozo ราคาพยายามทรงตัวบริเวณแนวรับ รายสัปดาห์ในช่วงท้ายสัปดาห์ หลายปัจจัยที่ยังคงกดดันราคาน้ำมัน
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่าสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 3.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 433.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.3 ล้านบาร์เรล… อุปทานล้นตลาดจนถึงปี 2026
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร (OPEC+) ได้ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันและหุ้นในภาคพลังงานปรับตัวลดลง
- ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ลดลง 1.6% สู่ระดับ 71.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่กองทุน Energy Select Sector SPDR Fund ลดลง 3.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 นอกจากนี้ หุ้นของบริษัทน้ำมันรายใหญ่ เช่น Exxon Mobil และ Chevron ก็ปรับตัวลดลง 3.2% และ 3.5% ตามลำดับ
- ก่อนช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่าน ซึ่งรัสเซียส่งโดรนโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและก๊าซยูเครน รัฐบาลสหรัฐฯ พิจารณาเพื่อบรรเทามาตรการคว่ําบาตรภาคพลังงานของรัสเซีย เพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครน ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้เป็นผู้นําความพยายามในการกําหนดเพดานราคา 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลสําหรับการส่งออกน้ํามันของรัสเซีย โดยมีเป้าหมายเพื่อตัดเงินทุนสําหรับความพยายามในการทําสงครามของรัสเซีย ซึ่งหากสหรัฐยกเลิกมาตราการดังกล่าวส่งผลให้รัสเซียเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มรูปแบบ (จากเดิมขายได้เฉพาะ จีน – อินเดีย) ส่งพ้นให้เกิดอุปทานที่คาดว่าจะล้นตลาดออกมาอีกระรอก
Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาลง ศุกร์ที่ผ่านมาราคาพยายามดีดตัวขึ้นชนแนว Supply H4 และปรับตัวร่วงลง หลังจากลงมาชนแนว Support Week ที่กรอบราคา 63.953-65.497 ,ราคามีความผันผวนตลอดทั้งวัน ปิดตลาดด้วยแท่ง Bullish with Shadow ราคาเคลื่อนไหวถึง 2600 จุด ปัจจัยสำคัญมาจาก
- การประกาศตัวเลขนอกภาคการเกษตร (Nonfarm) แม้ว่าจะน้อยกว่าคาดการ แต่ก็ยังคงสูงกว่าเดือนที่แล้ว 151K ในขณะที่อัตราการว่างงาน ออกมาสูงกว่าเดือนก่อน 4.1% สะท้อนให้เห็นมีคนตกงานจำนวนมาก ในขณะที่จำนวนคนได้งาน(นอกภาคการเกษตร) ก็มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคเศรษฐกิจ USA
- ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ประเทศ จีน -0.7% สะท้อนถึงสภาวะเงินฝืดในประเทศจีนที่ยังเผชิญอยู่ จีนกำหนดเป้า GDP 2025 เป็น 5% และยังเพิ่มอัตราขาดดุลงบประมาณ เป็น 4% ของ GDP วางแผนออกพันธบัตรพิเศษ มูลค่า 1.3 ล้านหยวน เพื่อสนับสนุนการบริโภคสู้กับเงินฝืด ทั้งนี้จีนยังคงเผชิญปัญหา ในภาคาอสังหาริมทรัพย์จากสงครามการค้ากับสหรัฐ …. จีน เป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน WTI เป็นอันดับหนึ่ง ความต้องการน้ำมันของจีน จะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาน้ำมันได้เช่นกัน
- ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการขึึ้นภาษีการค้าของสหรัฐประกาศเลื่อนเก็บภาษีแม็กซิโก และแคนาดา ภายใต้ข้อตกลง USMCA (สหรัฐ – แม็กซิโก -แคนาดา) ออกไป 1 เดือน จนถึงวันที่ 2 เม.ย…. นักลงทุนมองว่า เป็นการขัดขวางการใช้จ่ายของผู้บริโภค และเพิ่มความไม่แน่นอนในการตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุน
- สถานะการความขัดแย้ง ในอิสลาเอล – ปาเลสไตน์ :- ทรัมป์ออกเตือนกลุ่ม ฮามาส ให้ปล่อยตัวประกันทั้งหมด ตลอดจนร่างผู้เสียชีวิตทั้งหมด แต่ทางฮามาสยืนยันจะปล่อยตัวประกันทันทีเมื่อ อิสลาเอลปล่อยตัวประกันปาเลสไตน์(ฮามาส)จำนวน 620 คนตามที่ตกลงกันไว้… ติดตามสถานะการณ์ใน phase 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ที่ดันไม่ระบุเวลาที่ชัดเจนให้แต่ละฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายใช้เป็นข้ออ้างในการครอบครองตัวประกัน ความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ จะส่งผลโดยตรงกับราคาน้ำมัน
H4 / H1 โครงสร้างยังคงเป็นเทรนด์ขาลง ราคาปรับร่วงลง (ตามคาด) แต่ยังคงไม่สามารถสร้าง Low ใหม่ที่ต่ำไปจากเดิม(บริเวณแนวรับ Demand Week) H1 มีการเคลื่อนตัวออกข้าง ในกรอบ 67.936-65.095 และยังคงอยู่ในเทรนด์ไลน์ขาลง เน้นการทำกำไรในฝั่งขาย จะได้เปรียบกว่า (ยังไม่ปรากฎสัญญาณซื้อทางเทคนิค)
แนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบราคา 67.603-68.212 / SL 68.600 เพื่อทำกำไรที่ 67.080 / 66.459/65.753
แนวรับ 65.095 / 63.581 /61.651
แนวต้าน 67.936/69.664/70.421

Leave a Reply