Day โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาลง ราคาน้ำมันปรับตัวร่วงลงอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายภาษีของทรัมป์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ส่งผลให้การลงทุนหยุดชะงัก ซึ่งเป็นปัจจัยลบโดยตรงต่อราคาน้ำมัน ปิดแท่งรายวัน Bearish Marubozo ร่วงกลับลงมาทดสอบบริเวณกรอบแนวรับ Support H4 กรอบ 65.879-65.037 ซึ่งเป็นเคยทดสอบมาก่อนแล้ว 2 ครั้งในช่วงต้นเดือนมี.ค.
WTI วานนี้ปรับตัวร่วงลง 6% (จากความเชื่อมันในตลาดลดลง)
ปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน จากมาตราการเก็บภาษี “วันปลดปล่อย”
- การเรียกเก็บภาษี จากมาตราการตอบโต้ประเทศที่สหรัฐเสียดุล “วันปลดปล่อยอเมริกา”
– ภาษีแบบ ตอบโต้ (reciprocal tariff) โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราส่วนที่สหรัฐขาดดุลย์ กับประเทศเหล่านั้นในช่วงปีที่ผ่านมา (กัมพูชา 49%/ ลาว 48% / เวียดนาม 46% / พม่า 44% / ไทย 36% / จีน 34%/ไต้หวัน 32%…… อังกฤษ 10%…..)
– ภาษีพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด (10% Baseline Tariff) ครอบคลุมสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโก (ที่เรียกเก็บภาษีไปก่อนหน้านี้ 25%) ,มีผลบังคับใช้ 5 เม.ย. - นอกจากนี้ยังมีไม่รวม ภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% ซึ่งมีผลบังคับใช้ 2 เม.ย. ในขณะที่ ภาษีนำเข้าอะไหล่รถยนต์จะตามมาภายหลัง / ภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม จากทั่วโลก 25% มีผลบังคับใช้ 12 มีค ก่อนหน้านี้
- นักลงทุนคาดการณ์ Fed ปรับลดดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ หลังการขึ้นภาษีของทรัมป์ กระตุ้นความเป็นไปได้ของสงครามการค้าครั้งใหญ่ และการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อรอบใหม่ คาดน่าจะถึง 4% ในสิ้นปีนี้
- ทรัมป์ ชี้ให้เห็นถึงรายได้ 700 พีนล้านดอลล่าร์ต่อปีที่สร้างขึ้น หากดุลการค้าไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ตลาดหุ้นทั้งในอเมริกาและทั่วโลก ร่วงลงหนัก
- ฝรั่งเศสตอบโต้นโยบายภาษีทรัม ประกาศเรียกร้องให้บริษัทและกลุ่มการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระงับการลงทุนในสหรัส ซึ่งรวมไปถึงหลายๆชาติ ขู่จะยกระดับสงครามการค้า Stellantis (ผู้ผลิตรถยนต์เนเธอแลนด์) ประกาศเลิกการจ้างงานในสำหรับชั่วคราว และปิดโรงงานในแคนาดา-แม็กซิโก และคาดการณ์ จีนจะมีมาตราการตอบโต้ภาษีที่รุนแรงกลับออกมาก หลังจาก Fitch Ratings ปรับลดความน่าเชือถือของจีนจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น (จาก A+ เป็น A) จากนโยบายปรับภาษีของทรัมป์
- แคนาดาประกาศตอบโต้นโยบายภาษีทรัมป์ทันที โดยประกาศจะเก็บภาษีรถยนต์ 25% สำหรับรถยนต์ทุกคันที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(NAFTA) (ข้อตกลงของ USA & Canada & Mexico ในปี 1994 ว่าด้วยการยกเลิกภาษีระหว่าง 3 ประเทศ,สนับสนุนการค้าเสรีและลงทุน)
- JP Morgan (สถาบันการเงินของโลก) และ IMF ประกาศเพิ่มความเสียงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย เป็น 60% (จากเดิม 40%) เนื่องจากความผิดปกติของห่วงโซ่อุปทาน และขาดความเชื่อมันในตลาด
- จากนโยบายภาษีทรัมป์ ส่งผลให้หลายชาติต้องปรับ GPD ที่ลดลง :- ไทยคาด GDP ปรับลด 1% อินเดียคาด GDP ปรับลด 0.5% ช่องว่างระหว่างภาษีส่งออกไปสหรํฐกับนำเข้าอินเดีย อาจส่งผลให้การตัดสินใจลงทุนล่าช้า การเติบโตช้า ซึ่งอาจส่งผลต่อสกุลเงิน และกระตุ้นให้เกิดการถอนตัวจากตลาดหุ้น
ผลการประชุม OPEC+ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน… กดดันราคาน้ำมัน
- OPEC+ (ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย อิรัก อาหรับเอมิเรตส์ คูเวต คาซักสถาน แอลจีเรีย และ โอมาน) ตกลงเพิ่มกำลังการผลิตรวม 411,000 บาร์เรลต่อวัน โดยจะเริ่มในเดือน พ.ค. (ก่อนหน้านี้คาดผลิต 140,000 บาร์เรลต่อวัน) โดยโอเปคให้ความเห็นว่า การเพิ่มเป้าหมายการผลิตเป็นการกระตุ้นสมาชิกให้ผลิตตามโควต้าที่กำหนด(คาซักสถานผลิตเกินโควต้า) ตลอดจนความกังวลในการคว่ำบาตรอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการน้ำมันในระยะยาว
สถานะการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางยังคงดำเนินไปอย่างดุเดือด ตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
- กองบัญชาการกลางของสหรัฐ CENTCOM เปิดปฎิบัติการโจมตีทางอากาศ ฐานที่มั่นของ ฮูตีในเยเมน ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน ขณะที่ฮูตีประกาศจะเอาคืนอย่างสาสม ขณะที CENTCOM ยังคงโจมตีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรัฐบาลอิหร่านประกาศเจ้าหน้าที่กองทัพอีหร่านถอนตัวออกจากเยเมนเป็นการด่วน
- อิสลาเอล เดินหน้าถล่ม ฉนวนกาซ่าอย่างหนัก ต้องการแยกกาซ่าออกเป็นส่วนๆ เพื่อจะจับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซ่า ขณะที่ ฮามาสตอบโต้กลับด้วยขีปนาวุธ สงครามยังคงไม่มีท่าทีจะหยุดโดยง่าย แม้มีทีท่าว่าจะมีการเจรจาหยุดยิง ขณะที่กอกกำลังป้องกันตัวเองของอิสลาเอล IDF เดินหน้ายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์ตอนเหนือของกาซ่า หลังจากที่อิสลาเอลประกาศยกระดับ ตอนใต้ของกาซ่าวานนี้ พร้อมทั้งประกาศอพยบประชาชนในตอนใต้ ขณะเดียวกันมีความกังวลของครอบครัวตัวประกัน ว่าหากอิสลาเอลยังคงเดินหน้าโจมตีฮามาสเช่นนี้ อาจทำให้ข้อตกลง ปล่อยตัวประกันและหยุดยิงรอบ 2 อาจจะต้องเลื่อนออกไปลำดับสุดท้าย กองทัพอิสลาเอลจะปฎฺิบัติการเต็มรูปแบบ ในการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซ่า เพื่อส่งมอบกาซ๋าให้อยู่ใต้การดูแลของสหรัฐ ตามทีทรัมป์ต้องการ
- เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสลาเอล ไม่กลัวหมายจับ ฐานก่ออาชญกรรมสงคราม ฉนวนกาซ่า ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศตัดสิน เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว หลังเดินทางไปฮังการี่
- รัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอล ยืนยันไม่ปิดหนทางการเจรจาฑูตในการเจรจาทางอ้อมกับอิหร่าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในตะวันออกลาง ในขณะที่ฐานทัพอากาศ Uvda และ Diego Garcia ฐานทัพอเมริกาในมหาสมุทรอินเดีย เป็นพื้นที่เป้าหมายของอิหร่านในการเล็งโต้กลับ
- สหรัฐ-อิหร่าน : สหรัฐส่งกำลังทางอากาศครั้งใหญ่ทีสุดนับตั้งแต่ปัญหาในตะวันออกกลาง เครื่องบินขนส่ง C17 มากกว่า 16 ลำ บรรทุกระบบป้องกันภัยทางอากาศขั้นสูง (ขีปนาวุธ + Patriot (ใช้สำหรับสกัดกั้นและทำลายขีปนาวุธที่เข้ามาโจมตี รวมถึงเครื่องบินข้าศึก) จากที่มีการส่ง B-2 Spirit จำนวน 6 ลำ เข้าประจำฐาน Diego Garcia 2 วันก่อนหน้าไปแล้ว
รัสเซีย-ยูเครน ข้อตกลงหยุดยิงที่เป็นไปได้ยาก ..อุปทานน้ำมันคงตัว
- การสู้รบยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ NATO ยืนยังสหรัฐไม่ได้ถอนกำลังออกไปจากนาโต้ และยังคงให้ความร่วมมือต่อไป และยืนยันให้การช่วยเหลือยูเครน
- รัสเซียระบุ ทหารยูเครนโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน กรุงเคริกซ์ในรัสเซีย 2 คร้ง ขณะที่ ยูเครนรายงาย รัสเซีย โดรนรัสสเสีย ยังคงโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลังงานในกรุงซูมี จนทำให้สายไฟฟ้าเสียหาย
- รัสเซียยังคงระบุเปิดกว้าง แนวทางสันติภาพ รัสเซีย-ยูเครน และมั่นในว่า ทรัมป์ สามารถสร้างสันติภาพได้ เกรงว่าหากมีข้อตกลงหยุดยิง 30 วันจริง อาจส่งผลให้ยูเครนรวมกำลังพลใหม่จากความร่วมมือของยุโรป
H4 / H1 สิ้นสุดโครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น ราคาปรับตัวร่วงลง อย่างต่อเนื่อง H4 + H1 ร่วงลงในระดับ Oversold เข้าสู่บริเวณ Demand H4 เดิ่มที่เคยดีดตัวขึ้นไป ที่กรอบ 65.879-65.037
โครงสร้างยังคงเป็นเทรนด์ขาขึ้นระยะสั้น ราคาน้ำมันปรับตัวร่วงลง หลังจากขึ้นไปทดสอบกรอบ Supply Day Zone (ตามคาด) ประกอบกับการแถลงนโยบายภาษีเพิ่มเติมของทรัมป์ ที่คาด เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกหยุดชะงัก ส่งตรงต่อความต้องการน้ำมัน ส่งให้มีแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง
แนะนำ
- เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 66.887-67.814 / SL 68.000 เพื่อทำกำไร 56.356/64.867/64.077
แนวรับ 64.974/63.778/61.656
แนวต้าน 67.874/68.889/70.325

ปฎิทินเศรษฐกิจ 4 เม.ย.2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- ติดตามประกาสตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm) ควบคู่ไปกับ Average Hourly Earnings m/m รายได้เฉลียต่อชั่วโมง
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง = 0.3 , NON Farm > 151 K จะส่งผลดีต่อ USD และน้ำมัน
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง = 0.3 , NON Farm < 137 K จะกดดัน USD และนัำมัน
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง > 0.3 , NON Farm > 151 K รายได้สูง การจ้างงานสูง จะส่งผลดีต่อ USD และน้ำมัน (Fed คาดเงินเฟ้อมีโอกาสสูง ยังไม่รีบปรับลดดอกเบี้ย)
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง > 0.3 , NON Farm < 137 K รายได้สูง การจ้างงานน้อย USD จะมีความผันผวนทิศทางแข็งค่าเล็กน้อย (Fed คาดเงินเฟ้อมีโอกาศสูง เศรษฐกิจชะลอตัว มีโอกาสที่ปรับลดดอกเบี้ย)
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง < 0.3 , NON Farm > 151 K ผลตอบแทนน้อย การจ้างงานสูง USD และน้ำมัน แกว่งตัวเล็กน้อยในกรอบหรืออาจแข็งค่าขึ้น (Fed เศรษฐกิจขยายตัว ไม่รีบลดดอกเบี้ย)
– หากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง < 0.3 , NON Farm < 137 K ผลตอบแทนน้อย การจ้างงาน้อย กดดัน USD และน้ำมัน (Fed คาด เศรษฐกิจชะลอตัว มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ย)
Leave a Reply